Framing กรอบความคิดในกะลาที่ขังตัวเอง

Framing
"ถ้าคุณถูกบอกว่ามีโอกาสรอด 90% คุณจะรู้สึกต่างจากการบอกว่ามีโอกาสตาย 10% หรือไม่?"แม้ทั้งสองคำกล่าวจะมีความหมายเดียวกัน แต่การจัดกรอบที่แตกต่างกันสามารถเปลี่ยนแปลงการรับรู้และการตัดสินใจของคนได้อย่างสิ้นเชิง

Framing คืออะไร ?

Framing” หรือ “การตีกรอบความคิด” คือแนวคิดทางจิตวิทยาและการสื่อสารที่กล่าวถึงวิธีที่ข้อมูลหรือปัญหาถูกนำเสนอและทำให้เกิดการตีความในมุมมองที่ต่างกัน โดยกรอบหรือมุมมองนั้นจะกำหนดวิธีที่เรามองเห็นและเข้าใจสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เช่น ถ้าหากปัญหาถูก “จัดกรอบ” ให้เน้นความเสี่ยง คนอาจจะตอบสนองแตกต่างจากกรอบที่เน้นผลประโยชน์หรือโอกาส

  • เนื้อไม่มีไขมัน 75% VS. เนื้อมีไขมัน 25%
  • ได้ที่ 2 รองชนะเลิศ VS. อดได้แชมป์ 

นี่คือตัวอย่างของ Framing หรือ “การตีกรอบความคิด” เป็นจิตวิทยาหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อมุมมองและความคิดของเราในทุกเรื่อง ซึ่งเราทุกคนล้วนตกอยู่ภายใต้กฎ Framing ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง ไม่เว้นแม้แต่ CEO / ศาสตราจารย์ / ผู้เชี่ยวชาญ

การตีกรอบความคิด เป็นได้หลายรูปแบบมากๆ เช่น…

คำนิยาม 

  • ห้องคอนโดสมัยใหม่ VS. พื้นที่ในการสร้างครอบครัว
  • ห้องทำงาน VS. ห้องสร้างสรรค์ผลงาน
  • ชงกาแฟดริป VS. ศิลปะแห่งความพิถีพิถัน
Framing

คำพูด

  • คุณรู้สึกอย่างไรกับสินค้านี้? (เป็นกลาง)
  • คุณชอบสินค้านี้อย่างไร? (โฟกัสด้านบวก)
  • Deadline เย็นนี้แล้ว ทำไมโปรเจ็คท์ยังไม่เสร็จอีก?!! (พนง.อาจหาข้ออ้าง)
  • รีบทำโปรเจ็คท์ให้เสร็จซะ Deadline เย็นนี้แล้ว! (พนง.รีบปั่นงานให้เสร็จ)

ไม่สำคัญว่าคุณจะพูดอะไร…สำคัญว่าคุณพูด “อย่างไร” เรื่องเดียวกัน แต่เราตอบสนอง-คิด แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าได้รับสารแบบไหน

ตัวเลข

มีผลการทดลองในเนื้อ 2 แบบระหว่าง 99% fat-free VS. 1% fat นักวิจัยถามผู้ทดลองว่า…คิดว่าแบบไหน ‘ดีต่อสุขภาพ’ กว่า?  ผู้ทดลองส่วนใหญ่เลือกแบบแรก…ทั้งๆ ที่ทั้งคู่เหมือนกัน! ที่แล้วกันใหญ่กันคือ…

มีการเปลี่ยนเป็น 98% fat-free VS. 1% fat คนส่วนใหญ่ก็ยังคงเลือกแบบแรกอยู่ดี…ทั้งๆ ที่ไขมันมากกว่า! เพราะข้อความแรกตีกรอบความคิดให้โฟกัสที่ “fat-free” ปราศจากไขมัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ ขณะที่ข้อความสองโฟกัสที่ “fat” ไขมัน ซึ่งมีภาพลักษณ์แง่ลบ

การตีกรอบความคิดไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวแต่อย่างใด อันที่จริง เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร-ผู้นำองค์กร ที่จะต้องตีกรอบความคิดให้พนักงานตัวเองด้วยซ้ำ ในการโน้มน้าว / มอบวิสัยทัศน์ / สร้างแรงบันดาลใจ หัดมอง “วิกฤติปัญหา” ให้เป็น “โอกาสในการลองทำสิ่งใหม่ๆ” มอง “การมาทำงานในแต่ละวัน” เป็น “สร้างคุณค่าให้ตัวเองในทุกวัน”

คุณ Rolf Dobelli ผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง The Art of Thinking Clearly เสริมว่า การตีกรอบยังถูกพลิกมาใช้เป็นด้านบวกกับตัวเราได้ด้วย (Positive Framing)

  • งดกินไขมัน ประหยัดเวลาวิ่งลงได้ 30 นาที
  • ใส่แมสก์ เพิ่มความเป็นส่วนตัวในที่สาธารณะ

แต่ทั้งนี้ Positive Framing ต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความเป็นจริง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการ “เลี่ยงบาลี” (Glossing) ดังที่เราเห็นจาก “น้ำท่วม” ถูกบิดคำเป็น “น้ำรอระบาย”..


ถ้าชอบบทความแบบนี้ อย่าลืมกดไลค์-กดแชร์ และ…กดคลิกเข้าไปสำรวจ “แบบประเมินอาชีพฟรี” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอนาคตในฝัน ได้ที่ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

openai
ข่าวดี! OpenAI Academy เปิดให้เรียนรู้ AI ฟรีแล้ววันนี้!
CareerVisa ขอแนะนำแพลตฟอร์มใหม่จาก OpenAI ที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจทั่วไปก็สามารถเรียนรู้และใช้งาน AI ได้อย่างมั่นใจ...
discipline
ฝึกตัวเองให้มีวินัยขั้นสุดยอด อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ด้วยสิ่งนี้ โดย Andrew Huberman
สำหรับใครที่รู้สึกว่าควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ ไม่มีวินัยเอาซะเลย วันนี้ CareerVisa จะมาเล่าให้ฟังแบบบ้านๆ เรื่องอยากมีวินัย (discipline) ให้ฟังว่าทำยังไงถึงจะฝึกวินัยได้แบบเป็นวิทยาศาสตร์...
Kelly McGonigal
"เครียดยังไงให้กลายเป็นพลังบวก" สรุปแนวคิดจาก Kelly McGonigal นักจิตวิทยาด้านสุขภาพและผู้เขียนหนังสือ "The Upside of Stress"
วิธีคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนมุมมองต่อความเครียดเพื่อใช้มันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง 1. มองความเครียดเป็นพลัง ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว การเชื่อว่าความเครียดช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับมือความท้าทาย...