4 การเรียนรู้ สู่การพัฒนาตัวเองอย่างยั่งยืน

การเรียนรู้
คงจะดีไม่น้อยถ้าเรามีนิสัยรักการพัฒนาตัวเองบางอย่างที่ทำแล้วองค์ความรู้จะอยู่กับเราตลอดไป แถมเป็นไลฟ์สไตล์ที่ประยุกต์ใช้ได้ไม่ว่าจะอายุแค่ไหน ทำงานสายอาชีพอะไรวันนี้จึงขอแนะนำให้รู้จักกับ “4 การเรียนรู้สู่การพัฒนาตัวเองอย่างยั่งยืน”

1. อ่านหนังสือ

“ไม่มีนักคิดชั้นนำคนไหนบนโลกที่ไม่ใช่นักอ่านตัวยงในเวลาเดียวกัน”

เพราะตัวอักษรเปลี่ยนแปลงชีวิตคนได้อย่างเหลือเชื่อ ประโยคสั้นๆ บางจุดในหนังสืออาจเปลี่ยนมุมมองคุณที่มีต่อชีวิตไปตลอดกาล

หนังสือที่เราอ่านจบแค่ 1 สัปดาห์ อาจใช้เวลาเขียน 1 ปี 10 ปี หรือแม้แต่ประสบการณ์ทั้งชีวิตของนักเขียนกลั่นกรองออกมาอยู่ในเล่มเดียว นี่จึงเป็นทางลัดที่สะดวกในการเรียนรู้เรื่องราวของคนอื่น

Elon Musk อ่านหนังสือแบบยึดหลัก “คุณภาพ > ปริมาณ” โดยเรียงลำดับความสำคัญให้กับเรื่องที่ประยุกต์ใช้ได้จริง และมักรู้แบบปูพื้นฐานก่อนค่อยๆ ต่อยอดสู่ระดับแอดวานซ์ นอกจากนี้ เขาสามารถอ่านหนังสือสารานุกรม Encyclopedia Britannica ได้แล้วตั้งแต่ 8 ขวบ

ด้านคุณปู่ Warren Buffet ยึดเลข “5” โดยอ่านหนังสือพิมพ์ชั้นนำวันละ 5 ฉบับ / อ่านรายงานบริษัทวันละ 500 หน้า / อ่านหนังสือให้ได้วันละ 5 ชั่วโมง

สังเกตหรือไม่? การอ่านยังเป็นวิธี “รับข้อมูล” มหาศาลที่รวดเร็วกว่าการฟัง ตัวอย่างอยู่ใกล้ตัวเรา เช่น การพูดคุยใน Clubhouse 30 นาที เมื่อถูกเขียนออกมาเป็นบทความ เราอาจอ่านจบภายในเวลาแค่ 3 นาที

Bill Gates คืออีกคนที่อ่านหนังสือหนักมาก รองจากทำงานก็คงเป็นหนังสือนี่แหละที่เค้าใช้เวลาด้วยเยอะที่สุด ทุกปี เขาจะทำการ Retreat ปลีกวิเวกตัวเองไปอยู่บ้านพักในที่ห่างไกล ปิดตัวเองจากการทำงานในชีวิตประจำวัน 

บ้านแห่งนี้จะมีของกินเครื่องใช้ครบครัน หน้าที่หลักหน้าที่เดียวของเค้าคือ “อ่านหนังสือ” ที่เค้าพกไปด้วยหลายโหล อ่านมันเข้าไปพร้อมกับขบคิดอะไรหลายอย่าง ไม่ใช่แค่งานองค์กรที่เค้าดูแลเท่านั้น แต่รวมถึงสังคมและโลกใบนี้

Bill Gates จะเดินออกจากบ้านหลังนั้นกลับสู่โหมดชีวิตปกติ พร้อมกับความคิดบางอย่างที่ “ตกผลึก” มาแล้วเสมอ และทุกปีเขาจะทำการ “แนะนำหนังสือแห่งปี” ที่เขาอ่านมาแล้วและอยากบอกต่อให้คนอื่นได้อ่านตาม

การอ่านยังยั่งยืนในแง่ที่ว่า มันไม่จำเป็นต้องใช้แรงหรือพลังงานแต่อย่างใด และเมื่อเราแก่ตัวไป…ยิ่งต้องอ่าน! ผลวิจัยมากมายระบุว่าแค่การอ่านหนังสือก็ช่วยลดโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้แล้ว เพราะสมองต้อง “คิดตาม” อยู่ตลอด

การอ่านหนังสือยังเป็นกิจวัตรที่พบเจอในคนสำเร็จระดับโลกในแทบทุกวงการ…เราเองก็เริ่มต้นอ่านได้ง่ายๆ เช่นกัน

2. เรียนรู้ ต้นน้ำ-ปลายน้ำ 

“ดูซีรี่ย์ต้องดูให้จบ”

ถ้าดูเฉพาะช่วงกลาง-หลัง เราอาจจะเข้าใจผลลัพธ์…แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมมันถึงเกิด อะไรเป็นสาเหตุตั้งแต่แรก การเรียนรู้ก็เช่นเดียวกัน

คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน แม่ทัพใหญ่ของ MK กล่าวว่านิสัยการเรียนรู้ของเค้าคือ หากอยากรู้อะไรต้องรู้แบบ “ครบวงจร” เหมือนการดูซีรีย์ก็ต้องดูให้จบทั้งเรื่อง เป็นความรู้แต่ละจุดที่นำมาประกอบกันจนเข้าใจเรื่องราวทั้งหมด 

โดยเค้าชอบเจาะลึก (หนึ่งในนั้นคือการอ่านหนังสือ) ไปถึงประวัติผู้ก่อตั้งเพื่อสืบหารากเหง้าตั้งแต่ต้น เช่น ถ้าอยากรู้เรื่องราวของ Nike…นอกจากกลยุทธ์ธุรกิจปัจจุบันแล้ว จะสืบค้นข้อมูลของ Phil Knight ผู้ก่อตั้งด้วยเสมอ

เมื่อเรารู้ครบวงจรแบบต้นน้ำ-ปลายน้ำ อาจนำไปสู่การมองเห็น “โอกาส” ทางธุรกิจใหม่ๆ 

MK ทำตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เดิมเชี่ยวชาญด้านขนส่งอาหารอยู่แล้ว จึงต่อยอดสู่วงการโลจิสติกส์ที่มีมูลค่าแสนล้านบาท จับมือกับพันธมิตร M-SENKO LOGISTICS เบอร์ 2 ด้านโลจิสติกส์จากญี่ปุ่น

Fujifilm ต่อยอดสู่ธุรกิจเครื่องสำอางซึ่งต่อยอดมาจากคอลลาเจนที่ใช้รักษาสภาพฟิล์ม และบุกการวินิจฉัยโรคด้วยการ X-Ray ซึ่งเป็นสิ่งที่ Fujifilm มีเทคโนโลยีเป็นทุนเดิม

การไม่รู้จุดใดจุดหนึ่งระหว่างทางอาจนำพามาซึ่งความล้มเหลวในธุรกิจ ดังที่กานต์และซารต์ YouTuber ชื่อดังจากช่อง Bearhug ออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชนกับตัวว่าชานมยี่ห้อ Sunsu ที่ทั้งคู่ปั้นมากับมือ ขาดทุนไม่เป็นท่าจนต้องยกเลิกการวางจำหน่ายสินค้าใน 7-ELEVEN เพราะพบเจออุปสรรคที่ไม่คาดคิดมาก่อนทั้งภาษีความหวาน / การหมุนเงินสด / การบริหารสินค้าในสต๊อก

3. รู้กว้างในหลายศาสตร์

ยิ่งอยู่วงการอื่นมากเท่าไรยิ่งดี เปิด “มุมมอง” เราที่มีต่อโลก ให้ Input ใหม่ๆ ที่เราไม่เคยคาดคิด โดยเฉพาะยุคปัจจุบันที่โลกเราโอบกอด Diversity & Inclusion

ผลวิจัยมากมายระบุว่า คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้ฉลาดหลักแหลมไปกว่าคนทั่วไปขนาดนั้นหรอก เพียงแต่เขามักเป็นคนที่มองเห็น “ความสัมพันธ์” ของสิ่งต่างๆ หรือ “มองเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองข้าม” และจะยิ่งสร้างสรรค์เมื่อสิ่งต่างๆ เหล่านั้น…มีความหลากหลายแตกต่างในตัวมันเอง

Dave Trott ปรมาจารย์ในวงการโฆษณาบอกว่า คนที่มีความคิดสร้างสรรค์คือคนที่แค่ “อยากรู้ไปเรื่อย” ไม่ใช่แค่วงการโฆษณาหรือการตลาด แต่พวกเค้าอยากรู้ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ / ประสาทวิทยาการทำงานของสมอง / การจัดดอกไม้อิเคบานะแบบญี่ปุ่น / ระบบ AI ในโรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่…ก่อนจะนำความรู้อันหลากหลายมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน

Steve Jobs กล่าวคำหนึ่งที่หลายคนจำได้ดีถึงทุกวันนี้ ว่าเรื่องนี้คือการ “Connecting the Dots” เชื่อมจุดแต่ละจุดที่เดิมทีดูเหมือนไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่พอจับนำมารวมกันกลับเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ 

รู้หรือไม่? การจัดวางและออกแบบตัวอักษร (Typography) คือศาสตร์ที่ Steve Jobs เคยเรียนเมื่อนานมาแล้ว ก่อนจะนำ Dot นี้มาเชื่อมใส่ใน iPhone ในอีกหลายทศวรรษต่อมา

4. ลงมือทดลองทำ

นี่คือขั้นตอนจาก Input สู่ Output คนเราเมื่อมีของ…ก็ต้องปล่อยออกมา

Walt Disney เคยกล่าวไว้ว่า “คุณไม่มีวันเรียนรู้จริงๆ ถ้าคุณไม่ลงมือทำ” คำนี้ยังใช้ได้ดีอยู่จนถึงยุคนี้

นี่เป็นการเรียนรู้ที่มากกว่าแค่อ่านหรือฟังประสบการณ์จากผู้อื่น (Beyond Vicarious Learning) 

บางคนลงเรียนคอร์สออนไลน์เพื่อการปั้น Facebook Page มาหลายคอร์ส แต่ทฤษฎีก็เป็นเรื่องหนึ่ง ปฏิบัติจริงก็อีกเรื่องหนึ่ง…บางอย่างอาจไม่เป็นเหมือนในตำรา เช่น ทำตามทฤษฎี ทำตาม Case Study ที่สำเร็จทุกอย่าง…แต่ทำไมของจริง 3 เดือนผ่านไปแล้วแทบไม่มีลูกเพจเพิ่มขึ้นเลย

นักพูดมืออาชีพหลายคนเคยกล่าวบนเวทีว่า คนที่ได้มากที่สุดไม่ใช่ผู้ฟัง…แต่คือตัวผู้พูดเองต่างหาก ซึ่งใช้ได้กับเรื่องอื่น เช่น เวลาติวหนังสือเพื่อน คนติวจะได้ประโยชน์ตามไปด้วย เพราะนอกจากต้องเข้าใจทั้งหมดแล้ว ยังต้องเรียบเรียงอธิบายให้เข้าใจง่ายด้วย

ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ขอให้มีความรู้ขั้นพื้นฐานระดับหนึ่งพอ จากนั้นลองเอาตัวเองไปลองผิดลองถูก เอาตัวเองไป “ลงสนาม” จริง นอกจากเราจะ “รู้” จริงมากขึ้นแล้ว ยัง “รู้สึก” ถึงรสชาติของความสำเร็จและล้มเหลว

.

.

และถ้าอยากพัฒนาการทำงานอย่างยั่งยืนในองค์กร-ในตำแหน่งที่คุณรัก รีบไปทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ และมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...