Self-Overestimation : คุณอาจไม่ได้เก่งอย่างที่คิด

Overestimation
Self-Overestimation คือการประเมินความสามารถหรือศักยภาพของตนเองสูงเกินจริง ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือความล้มเหลวในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะขาดการประเมินความเสี่ยงหรือข้อจำกัดของตนอย่างเหมาะสม
  • เราทำงานเก่ง ออกมาเปิดบริษัทเองก็น่าจะรุ่ง
  • ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม…เราเป็นครัวของโลก!!
  • “ผมมั่นใจว่าตัวเองขับรถดีกว่าคนอื่นทั่วไป”

เรามักตกเป็นเหยื่อของอาการ Self-Overestimation การคิดว่าตัวเองเก่ง(เกินจริง) เรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่เสมอ จนนำไปสู่ข้อสรุปที่บิดเบือนหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาด!!

ทำไมเรามักคิดว่าตัวเองเก่งเกินจริง (Overestimation) ?

ตั้งแต่อดีตกาล มีกลไกหนึ่งที่ผลักดันมนุษย์ให้คิดว่าตัวเอง “ดีพอ” เพื่อออกไปลงมือทำอะไรบางอย่าง 

  • คิดว่าเก่งพอที่จะออกไปล่าสัตว์ได้
  • คิดว่าเก่งพอที่จะปกป้องคนอื่นได้
  • คิดว่าเก่งพอที่จะจีบสาวในหมู่บ้านได้

แต่ความบานปลายของกลไกนี้นำไปสู่ Self-Overestimation จนทำให้เรารู้สึก “ยกยอ” ตัวเองเกินจริง นักจิตวิทยาจาก Cornell University ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ให้เหตุผลว่า มนุษย์มักคิดว่าตัวเองเป็นคนฉลาดกว่าความจริง เมื่อเราคิดเช่นนั้นแล้ว ก็พลอยทำให้มองข้ามข้อบกพร่อง / ขีดจำกัด / อุปสรรคภายนอก…จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เรื่องธุรกิจการทำงาน แต่ครอบคลุมถึงชีวิตส่วนตัว / สุขภาพ / ความสัมพันธ์ ฯลฯ

เราอาจไม่ได้เก่งอย่างที่คิด

ผลสำรวจในหลายประเทศพบว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองมี “ทักษะการขับขี่” ดีกว่าค่าเฉลี่ยคนทั่วไป ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ท้องถนนคงจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยมากแน่ๆ แต่สถิติกลับไม่เป็นเช่นนั้น

  • คนอเมริกันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 37,000 คน
  • คนอังกฤษเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 27,000 คน
  • คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 12,000 คน

Nokia คิดว่าตัวเองเก่งพอแล้ว เพราะเป็นเจ้าตลาดมือถือมานานกว่า 20-30 ปีในสมัยนั้นและไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Smartphone แต่ภายหลังก็ถูกผลิตภัณฑ์ที่ปฏิวัติวงการของ Apple เขี่ยให้ตกชั้นกลายเป็นอดีต

Starbucks พิสูจน์ความสำเร็จไปทั่วโลก ไปเปิดที่ไหน ผู้บริโภคประเทศนั้นๆ ก็ให้การต้อนรับที่ดี…แต่ไม่ใช่กับ “ออสเตรเลีย” ตอน Starbucks ไปเปิดตลาดที่ออสเตรเลีย ก็นำโมเดลธุรกิจและมาตรฐานกาแฟที่ใช้กับที่อื่นทั่วโลก…ไปใช้ที่ออสเตรเลีย ก่อนจะพบว่าล้มเหลวไม่เป็นท่า!! เพราะประเทศนี้ผู้คนมี “วัฒนธรรมกาแฟ” ที่แข็งแกร่งมาก มี “มาตรฐาน” หลายอย่างสูงกว่า Starbucks เสียอีก ในปี 2008 Starbucks ได้ปิดสาขากว่า 70% ที่มีทั้งหมดในประเทศออสเตรเลีย จนเหลือแค่เพียง 23 สาขาเท่านั้น!! หรือด้านการศึกษา ย้อนกลับไปเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ถ้าคุณเรียน “จบนอก” แล้วกลับมาทำงานเมืองไทย คุณแทบจะเป็น Privileged Class ในสังคมไทยทันที เพราะสมัยก่อนคนจบระดับนี้ได้ยังมีน้อยมาก

แต่ปัจจุบัน แต่ละปีมีคนเรียนจบนอกถึงกว่า 15,000 คน/ปี การจบนอกยุคนี้จึงไม่ได้มี “แต้มต่อ” สำคัญเท่ายุคก่อนอีกต่อไป นอกจากนี้มหาวิทยาลัยในไทย ยังเปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้นมากมาย ซึ่งอาจมีคุณภาพดีไม่แพ้การจบนอกด้วยซ้ำ!! หรือแม้แต่ “ความเก่าแก่” ที่เราอาจหยิบยกมาเคลมความสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น 

  • Central คือห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 1927 ปัจจุบันมีอายุกว่า 94 ปี

แต่อายุความเก่าแก่นี้อาจเทียบไม่ได้เลยกับห้างที่อังกฤษ

  • ห้าง Selfridge ก่อตั้งเมื่อปี 1908 ปัจจุบันมีอายุ 113 ปี
  • ห้าง Harrods ก่อตั้งเมื่อปี 1824 ปัจจุบันมีอายุ 197 ปี
  • ห้าง Fortnum & Mason ก่อตั้งเมื่อปี 1707 ปัจจุบันมีอายุ 314 ปี

หรือในเชิงภาพรวม “อุตสาหกรรม” เราอาจหลงระเริงกับความชำนาญในการทำ “เกษตรกรรม” ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ยังมีประเทศอื่นๆ ที่แม้เกษตรกรรมจะไม่ใช่สัดส่วน GDP หลักของประเทศ แต่เกษตรกรรมในประเทศนั้นกลับมีประสิทธิภาพสูงกว่าไทยด้วยซ้ำ เช่น ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กอย่างเนเธอร์แลนด์ พบว่า

  • เนเธอร์แลนด์มีเกษตรกร 100,000 คน ทำยอดส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ราว 3 ล้านล้านบาท
  • ไทยมีเกษตรกร 12,500,000 คน ทำยอดส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ราว 700,000 ล้านบาท

จะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเนเธอร์แลนด์ สูงกว่าไทยถึง 4 เท่ากว่าๆ นำไปสู่คำถามว่า เนเธอร์แลนด์อาจมีความเป็น “ครัวของโลก” มากกว่าไทยใช่หรือไม่?

วิธีป้องกันไม่ให้ “Overestimation” ?

ในทุกการวิเคราะห์ใดๆ ให้ลอง “เอาตัวเองออกมา” เลิกตื่นเต้น ไม่ด่วนตัดสิน แล้วมองภาพรวมตามความจริง นี่คือด่านแรกที่ไม่นำไปสู่ความประมาท หัด “ตั้งคำถาม” อยู่บ่อยๆ เพราะจะนำคุณไปสู่ประเด็นหรือมุมมองอื่นที่ให้ข้อมูลรอบด้านได้มากขึ้น เช่น ตั้งคำถามกับประวัติศาสตร์เก่าแก่ของห้างอังกฤษ จนอาจนำคุณไปพบกับกลยุทธ์การสืบทอดธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น / วิธีการรักษาลูกค้าเก่าและหาลูกค้าใหม่ / หรือความสวยงามของสถานที่ การตกแต่งภายในแบบฉบับอังกฤษที่สวยไร้กาลเวลา (Timeless Design)

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้มากคือ การค้นหา “ตัวเลข” มาประกอบทุกการพิจารณา และเปรียบเทียบกับคู่แข่งรอบด้าน “ตัวเลขไม่เคยโกหกใคร” คำนี้ยังเป็นความจริงและใช้ได้ดีอยู่ ตัวเลขจะมาเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรม 🡺 รูปธรรมมากขึ้น

ที่สำคัญ ตัวเราเองต้องละทิ้งอคติส่วนตัว และต้องศึกษา “เรียนรู้” (Lifetime Learning) อยู่ตลอดเวลาเพื่อตามโลก เทรนด์ใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้ทันนั่นเอง 

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ และมีความสุขกับงานในทุกๆวัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Disney
Disney ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่โลกจินตนาการที่มีอยู่จริง
Walt Disney มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 9.6 ล้านล้านบาทปี 2019 เคาะรายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาทมอบความบันเทิงและโลกจินตนาการแก่ผู้คนทั่วโลกทุกวันนี้เวลาเรานึกถึงดิสนีย์เรามักนึกถึง...
การตั้งชื่อ
Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ...
Burnout
สัญญาณ Burnout : ทำไมการ ‘พร้อมเพื่อทุกคน’ อาจทำร้ายคุณ?
ในยุคที่ทุกอย่างเป็น “Always on” หรือพร้อมทำงานตลอดเวลา อาการ Burnout กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มคนทำงานโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสำหรับคนที่มักจะ...