จุดกำเนิด Ralph Lauren
แบรนด์ Ralph Lauren ถือกำเนิดขึ้นที่ New York ในปี 1967 โดยคุณ Ralph Lauren แฟชั่นดีไซเนอร์หนุ่มวัย 28 ปี ที่มีพื้นเพมาจากชนชั้นแรงงานยากจนในย่าน Bronx ของนิวยอร์ค
Image Cr. bit.ly/2Sqtig0
สินค้าแรกคือ “เน็กไท” เพราะสมัยนั้นอเมริกานิยมแต่สีเรียบๆ แต่ของ Ralph Lauren มีลวดลายสไตล์ที่โดดเด่น และต่อมามีโอกาสได้วางขายที่ห้างหรู Bloomingdale’s ในนิวยอร์ค ปรากฎว่าได้รับการตอบรับอย่างมหาศาล โดยลูกค้าหลักเป็นนายธนาคาร นักธุรกิจ พนักงานออฟฟิศ
Image Cr. bit.ly/3fiIRzn
จากความสำเร็จและประสบการณ์ที่สั่งสม ปี 1972 ได้ต่อยอดไปออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะพลิกโฉมหน้าวงการแฟชั่น มีชื่อว่า “Polo Ralph Lauren”
เดิมที โลกรู้จักเสื้อโปโลอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังจำกัดมักสวมใส่เฉพาะเวลาเล่นเทนนิส แถมเนื้อผ้าและดีไซน์ก็ไม่เหมาะกับใส่เดินในชีวิตประจำวัน
แม้ไม่ใช่ผู้คิดค้น ไม่ใช่ First Mover แต่เป็นเจ้าแรกที่ทำให้โด่งดังและเป็นที่ยอมรับในสากล เพราะคุณ Ralph Lauren ได้ใส่จิตวิญญาณให้มัน และประทับตราแบรนด์ว่า Polo Ralph Lauren ในทรง Single Fit อันเรียบง่าย มีให้เลือกถึง 24 สี พร้อมโลโก้คนขี่ม้าเล่นโปโล
เสื้อโปโลเป็นเสื้อ “กึ่งลำลอง-กึ่งทางการ” ซึ่งเข้ากับรสนิยมผู้บริโภคยุคนั้นที่พยายามสลัดทิ้งความทางการในทุกเรื่อง (ใส่สูทผูกไท) เป็นทางสายกลางระหว่าง “เสื้อเชิ้ต x เสื้อยืด”
และไม่เกินจริงเลยหากจะบอกว่ามันได้เปลี่ยนวัฒนธรรมการแต่งตัวของคนทั่วโลกนับแต่นั้นมา เพราะหลังจากนั้น “เสื้อโปโล” ก็ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากหลากหลายแบรนด์จนกลายเป็นอีกมาตรฐานไอเท็มมาตรฐานในท้องตลาดไป
ผลิตภัณฑ์เซ็ตนี้เองที่สร้างชื่อให้ Ralph Lauren และแม้ผ่านมา 50 ปี ก็ยังเป็นไอเท็มคลาสสิกที่ยังมีอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
Ralph Lauren ยังได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่อีกมากมาย รวมไปถึงเสื้อผ้าสำหรับสุภาพสตรี
ในปี 1981 ได้ลุยตลาดต่างประเทศครั้งแรกที่ถนน New Bond Street ณ กรุงลอนดอน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างดี
ก่อนที่ปี 1997 บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค ก่อนขยายสาขาไปทั่วโลก
ปี 2020 Ralph Lauren มีรายได้ $5.7 billion โดยแบ่งสัดส่วนรายไต้ตามภูมิภาคได้ดังนี้
- North America 54% ที่ $3.1 billion
- Europe 28% ที่ $1.6 billion
- Asia 18% ที่ $1 billion
Elite Class
“โลโก้” คือเครื่องมือสื่อสารที่ชัดเจนที่สุด สาเหตุที่ Ralph Lauren เลือกใช้รูปคนเล่นโปโลมาเป็นโลโก้เพราะมันสื่อถึง Elite Class สังคมชนชั้นสูง
Image Cr. bit.ly/2Sqtig0
กีฬาโปโล x ชนชั้นสูง เป็นของคู่กันมาเป็นร้อยปีแล้ว แทบจะเป็นภาพจำที่แยกขาดกันไม่ได้ ไปที่ไหนใครก็รู้
เมื่อมาอยู่ในเสื้อผ้า ย่อมทำให้ดูหรูหราพรีเมียมขึ้นทันที ต่อมา Ralph Lauren จึงเป็นไอเท็มที่อยู่คู่กายเหล่า Elites ทั่วโลกในหลากหลายโอกาส
เราสามารถพบเห็น Elites ที่อินเดีย / Elites ที่แอฟริกา / Elites ที่เม็กซิโก / Elites ที่อังกฤษ / Elites ที่แคนาดา / หรือ Elites ที่เมืองไทย…สวมใส่เสื้อผ้า(โดยเฉพาะเสื้อโปโล) Ralph Lauren ในหลายกิจกรรมเหมือนกันหมด เช่น กิจกรรมขี่ม้า / การตีกอล์ฟ / นั่งเรือยอร์ช ฯลฯ
ความคลาสสิกที่อยู่เหนือกาลเวลา
คุณ Ralph Lauren เคยกล่าวว่า “Fashion is over quickly. Style is forever.” แฟชั่นมาเร็วไปเร็ว แต่ความมีสไตล์จะยังอยู่ตลอดไป
นี่คงเป็นเหตุผลให้ Ralph Lauren เป็นแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเรียบหรู คลาสสิก แม้ผ่านไปหลายทศวรรษก็ยังดูดีอยู่
ความคลาสสิกยังรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นในเครือด้วย เช่น ของตกแต่งบ้าน / บาร์เครื่องดื่ม / ร้านอาหาร ในเครือ Ralph Lauren ทั้งหมดจะให้กลิ่นอายความคลาสสิก สุขุม ภูมิฐาน (บางคนเรียกว่าเป็นสไตล์ Gentlemen’s Club)
ไม่ได้หยุดแค่เสื้อผ้า
Ralph Lauren ถูกรู้จักอย่างดีในแฟชั่นเสื้อผ้า แต่อันที่จริงตัวแบรนด์ยังแตกผลิตภัณฑ์ไปทำเฟอร์นิเจอร์บ้าน / น้ำหอม / Accessories / ร้านอาหาร / คาเฟ่ ฯลฯ
และมีแบรนด์ย่อยในสังกัดอีกมากมาย เช่น Club Monaco / Denim & Supply Ralph Lauren / Polo Golf & RLX Golf / American Living / Chaps
ภาพจำในสื่อที่สอดคล้องกัน
Ralph Lauren ผูกแบรนด์เข้ากับเหล่าสังคมชั้นสูง
- ในภาพยนตร์ The Great Gatsby ในปี 1974 นักแสดงนำทุกคนสวมใส่ Ralph Lauren
- นิตยสารแฟชั่นชั้นสูง เช่น Vogue
- ปรากฎในงานแฟชั่นระดับโลก เช่น New York Fashion Show
และได้สปอนเซอร์โดยตรงในหลายกีฬาที่คนมีอันจะกินมักเล่นกัน เพื่อให้เหมาะกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ อาทิเช่น เทนนิส / กอล์ฟ / แข่งเรือใบ / กีฬาโปโล
นอกจากนี้ทุกงานโฆษณาที่ปรากฎออกสื่อ จะมีความสอดคล้องสม่ำเสมอ (Consistency) สะท้อนความเป็นครอบครัว โรแมนติก สไตล์ โดยทุกฉากเบื้องหลังมีองค์ประกอบที่แสดงถึงความร่ำรวยมีอันจะกินเสมอ จึงสร้าง Brand Perception ระดับพรีเมียมในใจผู้บริโภคได้
A Philanthropist
คุณ Ralph Lauren เติบโตมาในครอบครัวยากจน เขาจึงรู้ซึ้งดีถึงความยากลำบากในชีวิต ตัวเขาเองจึงเป็นผู้ใจบุญรายใหญ่ (Philanthropist) ที่บริจาคเงินสิ่งของและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้คน
ประเด็นนี้สอดคล้องกับ CEO Influencer ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ดูดีขึ้นไปอีกจากการประพฤติตัวของ CEO ผู้นำองค์กรโดยตรง
คุณ Ralph Lauren เคยเขียนความฝันสมัยยังเรียนอยู่ม.ปลายว่า “อยากเป็น Millionaire” มาวันนี้เขาได้กลายเป็น “Multi-billionaire” ไปแล้ว Forbes ประเมินว่าเขามีทรัพย์สินกว่า 200,000 ล้านบาท
แต่มรดกตกทอดที่เขาภาคภูมิใจที่สุดคงไม่ใช่ความร่ำรวยที่มี แต่คือ Ralph Lauren ทั้งตัวตนของเขาเองและเอกลักษณ์สไตล์ของแบรนด์ที่กาลเวลาพิสูจน์แล้วว่าเป็นวัฒนธรรมการแต่งตัวที่ได้รับการยอมรับจาก “รุ่นสู่รุ่น”
Ralph Lauren…แบรนด์หรูคลาสสิกเหนือกาลเวลาจริงๆ
.
.
ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/
ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com
ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/
อ้างอิง
- https://www.statista.com/statistics/268526/net-revenue-of-polo-ralph-lauren-by-region/
- https://corporate.ralphlauren.com/our-company
- https://www.headspacegroup.co.uk/from-rags-to-riches-how-ralph-lauren-built-a-fashion-empire
- https://martinroll.com/resources/articles/strategy/ralph-lauren-a-brand
- https://www.statista.com/statistics/263880/polo-ralph-laurens-revenue-worldwide/