5 เทคนิคบริหารเวลา ผัดวันประกันพรุ่งยังไงให้งานเสร็จไวกว่าเดิม จากหนังสือ Procrastinate on Purpose

ในโลกที่ใครต่างก็ยุ่งกันตลอดเวลา Rory Vaden ผู้ที่เป็น Management Consultant ในบริษัทชื่อดังจะมาเล่าถึง “เทคนิคบริหารเวลา” ที่ต่างไปจากเดิมที่เราเคยรู้จัก

Rory Vaden ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นคนที่ภาคภูมิใจกับการบอกคนอื่นว่าฉันยุ่งเหลือเกิน จนกระทั่งมีโอกาสได้คุยกับคนที่ทำงานเก่งจริง (ในหนังสือเล่มนี้เรียกพวกเขาว่า Multipliers) และเขาได้ถอดรหัสความสำเร็จของคนที่บริหารเวลาได้เก่งออกมา เป็น 5 ข้อ ดังนี้

  1. Ignore
  2. Invest
  3. Imperfect
  4. Incomplete
  5. Protect

[1] Ignore

👉หยุดบ่นว่าตัวเอง ‘ยุ่ง’

Roy มีโอกาสได้คุยกับ Multipliers คนหนึ่งที่บริหารเวลาเก่งมาก แต่แม้ตารางจะแน่นแค่ไหนเธอก็จะไม่บ่นว่าตัวเองยุ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เหตุผลก็คือเธอมองว่า การบ่นไม่ได้ทำให้งานของเธอลดลง และมีแต่จะทำให้เครียดกว่าเดิม เธอเอาเวลาที่จะบ่นมาใช้ทำงานจะดีกว่าเอาพลังงานไปใช้กับด้านอารมณ์

👉คนที่เก่ง ‘ตัดออก’ คนที่ไม่เก่ง ‘เติมเข้า’

คนที่เก่งจะพยายามตัดให้ตารางของตัวเองว่าง แต่คนไม่เก่งจะพยายามเติมตารางตัวเองให้เต็ม ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เพราะว่า Multipliers จะไม่สนใจการกระทำ แต่มองไปที่ “ผลลัพธ์” แต่คนทั่วไปอยากจะแสดงให้คนอื่นเห็นแค่ว่า ‘ฉันยุ่ง ฉันงานเยอะ’ 

ลองหมั่นถามคำถามนี้กับตัวเองดูว่า “เราจะลงมือทำให้น้อยที่สุดเพื่อให้ได้ผลมากที่สุดได้ยังไง”

ตัวอย่างของสิ่งที่ตัดออกได้เลยทันทีจากชีวิต แล้วทำให้มีเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้น

  • ตัดการดู TV, Social Media ที่มากเกินออกไป
  • ตัดการประชุมที่ไม่จำเป็นออกไป (มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเกือบครึ่ง ประชุมโดยไม่รู้ว่าตัวเองได้ประโยชน์จากการประชุมนี้ไปทำไม)

[2] Invest

👉Multiplies ลงทุนเพื่อสร้าง “เวลา” ให้กับตัวเอง

ลองมอง ‘เวลา’ ให้เป็นเหมือนการลงทุนดูสิ ถ้ามีคนคนหนึ่งซื้อกาแฟราคา 100 บาท ในวันนี้ เทียบกับนักลงทุนที่มองว่า เอาเงิน 100 ไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน 8% ต่อปี ผ่านไป 5 ปี เขาจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนคืนมามากกว่า 30 บาท ที่คนเหล่านั้นไม่ยอมซื้อกาแฟ ในวันนี้เพราะว่าพวกเขาเข้าใจประโยชน์ของดอกเบี้ยทบต้นในระยะยาวนั่นเอง

เรื่องนี้เปรียบเทียบกับการบริหารเวลาได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การส่งอีเมลซ้ำๆ ทุกวัน เหมือนกับเรายอมจ่ายเงินเล็กๆ น้อยๆ ทุกวันในมูลค่าเท่าเดิม ซึ่งถ้าหากเทียบกันกับอีกคนที่ยอมลงทุนทำระบบ Automate ส่งอีเมลแล้ว ในระยะยาวคนที่ทำระบบจะประหยัดเวลาไปได้มากกว่ากันแบบมหาศาล

[3] Imperfect

👉กล้าแจกงานให้คนอื่น

👉กล้าที่จะไม่จำเป็นต้องลงมือทำด้วยตัวเอง

  • การแจกจ่ายงานให้คนอื่น มีคำแนะนำคือให้ใช้ 30x rule (งานที่เราใช้เวลา 1 นาทีในการทำ จะต้องใช้เวลา 30 เท่าในการสอนอีกคนทำงานเดียวกัน) เช่น หากต้องการสอนคนอื่นให้ทำงานแทนเราที่ปกติใช้เวลาประมาณ 5 นาทีในทุกวัน เราจะต้องใช้เวลา 150 นาทีในการสอน
  • หลายคนอาจบ่นว่า ‘ ฉันทำเองไว้กว่าตั้งเยอะ ไม่เห็นต้องสอนเลย!’ แต่มันจริงรึเปล่า? มาลองคำนวณกัน

ถ้าผ่านไป 1 ปี มีวันทำงาน 250 วัน จะกลายเป็น 5 x 250 = 1,250 นาที ที่ประหยัดได้ เทียบกับสอนไป150 นาที นี่มันกำไรเห็นๆ ตั้ง 1,100 นาที ถ้ามองในระยะยาวจะเห็นเลยใช่ไหมล่ะว่า สอนงานประหยัดเวลากว่าเห็นๆ 

[4] Incomplete

👉ผัดวันประกันพรุ่งเสียบ้าง ไม่ต้องรีบทำให้เสร็จเสมอไป

ในมุมนี้ไม่ได้หมายถึงไม่ทำงาน แต่ความหมายคือ ‘ทุกสิ่งมีเวลาและจังหวะที่เหมาะสม’ จะดีกว่าถ้ารู้จักหาจังหวะและรอเวลา ไม่ต้องตะบี้ตะบันทำไปก่อน ยกตัวอย่าง เช่น รีบโปรโมตสินค้าไปก่อน ทั้งที่ยังทำสินค้าไม่เสร็จดี อาจส่งผลเสียกับแบรนด์มากกว่า เพราะลูกค้าจะไม่ได้สินค้าที่ดีพอ

[5] Protect

👉ปกป้องสิ่งที่สำคัญจริงๆ

Multipliers จะเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับ Priority เป็นอย่างมากว่านี่คือ ‘เรื่องสำคัญ’ ไม่ให้เวลาสิ่งอื่นมาเบียดเบียนได้เลย ไม่ใช่แค่การ Block เวลาเอาไว้ แต่สิ่งสำคัญกว่าคือ โฟกัสกับเรื่องนั้น

ถ้าหากว่าคุณมีเรื่องที่สำคัญต้องทำให้จดจ่อกับเรื่องนั้นอย่างเต็มที่ แลไม่มีเรื่องสำคัญอื่นๆ มาปะปน (ตัวอย่างเช่น แม้ว่าครอบครัวก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่เวลาทำงานไม่ควรนึกถึงครอบครัว และเวลาครอบครัวก็ไม่ควรคิดเรื่องงานให้ปนกัน)

และนี่ทั้งหมดนี้เป็นข้อสรุปง่ายๆ สำหรับคนที่อยากลอง “เทคนิคบริหารเวลา” แบบใหม่ “ทำน้อยกว่าเดิม แต่ได้ผลมากกว่าเดิม”

อ้างอิง

Procrastinate on purpose โดย Rory Vaden

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

openai
ข่าวดี! OpenAI Academy เปิดให้เรียนรู้ AI ฟรีแล้ววันนี้!
CareerVisa ขอแนะนำแพลตฟอร์มใหม่จาก OpenAI ที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจทั่วไปก็สามารถเรียนรู้และใช้งาน AI ได้อย่างมั่นใจ...
discipline
ฝึกตัวเองให้มีวินัยขั้นสุดยอด อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ด้วยสิ่งนี้ โดย Andrew Huberman
สำหรับใครที่รู้สึกว่าควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ ไม่มีวินัยเอาซะเลย วันนี้ CareerVisa จะมาเล่าให้ฟังแบบบ้านๆ เรื่องอยากมีวินัย (discipline) ให้ฟังว่าทำยังไงถึงจะฝึกวินัยได้แบบเป็นวิทยาศาสตร์...
Kelly McGonigal
"เครียดยังไงให้กลายเป็นพลังบวก" สรุปแนวคิดจาก Kelly McGonigal นักจิตวิทยาด้านสุขภาพและผู้เขียนหนังสือ "The Upside of Stress"
วิธีคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนมุมมองต่อความเครียดเพื่อใช้มันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง 1. มองความเครียดเป็นพลัง ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว การเชื่อว่าความเครียดช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับมือความท้าทาย...