หัวหน้าไม่ดี ลูกน้องเลยพร้อมใจกันลาออก

“ลาออกเพราะนายไม่ดี” คือหนึ่งในเหตุผลการลาออกที่พบเจอเป็นประจำของเหล่าลูกน้องที่อดทนอดกลั้นมานาน แต่สุดท้ายทนไม่ไหวจำใจต้องยื่นใบลาออก หรืออย่างน้อยที่สุดก็นำไปสู่ Quiet Quitting ขึ้น ฉุดรั้งศักยภาพของทีมโดยรวมเข้าไปอีก

สาเหตุไม่ใช่เพราะเรื่องเนื้องาน หรือเพื่อนร่วมทีม…แต่มาจากหัวหน้าผู้นำทีมต่างหาก!

 

ความน่ากระอักกระอ่วนใจคือ หัวหน้าบางคนดันไม่รู้ตัวว่าตัวเองไม่ดีพอหรือแสดงออกพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เฮลตี้จนทำให้พนักงานลาออกดีกว่า

 

เรามาดูคาแรคเตอร์อุปนิสัยของเหล่าหัวหน้าที่ไม่ดี จนลูกน้องพากันลาออกยกทีมกัน

 

ทำตัวเป็น Messenger

 

หัวหน้าหลายคนลืมว่าตัวเองสวมหมวกตำแหน่ง Manager ที่ต้องบริหารคนและดึงศักยภาพของลูกน้องออกมา แต่ดันประพฤติตัวเสมือนเป็น “Messenger “คนส่งสาร” แค่รอรับคำสั่งมาจากเบื้องบน รับคำสั่งมาจากซีอีโอหรือผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปอีกทีนึง ก่อนส่งต่อให้ลูกน้องเป็นคนลงมือทำ

 

ลักษณะที่พบเห็นคือ “โยนงาน” ให้ลูกน้อง โดย brief ผิวเผินว่า ผู้บริหารสั่งมาอีกทีนึง เราจะเห็นประโยคโต้ตอบทำนองว่า


  • “นายสั่งมาอีกทีนึง”
  • “ทำๆ ให้มันจบๆ ไป”
  • “อย่าจี้ถามให้มากเลย ก้มหน้าทำไป”

 

อุปนิสัยนี้คืออัตราเร่งชั้นดีที่ทำให้ลูกน้อลาออก เหตุเพราะพวกเขาทำงานแบบไม่มี Why ไม่รู้ว่าทำไปทำไม พอถามไปก็ถูกสวนกลับไม่ได้รับคำตอบที่สมเหตุสมผล

 

ยึดตัวเองเป็นใหญ่

 

โดยทั่วไปแล้ว หัวหน้ามักมีอายุมากกว่าลูกน้องอยู่บ้างพอสมควร และมักใช้อายุตรงนี้เองมาตีความว่า “ประสบการณ์” เยอะกว่า 

  • “อาบน้ำร้อนมาก่อน”
  • “พี่เคยผ่านจุดนั้นมาแล้ว”
  • “เอาเป็นว่า พี่รู้แล้วๆๆๆๆ” ก่อนรีบตัดบทจบ



ซึ่งในการทำงานยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยี นับว่าไม่เป็นความจริงเลย เพราะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นทุกวัน-ทุกเดือน-ทุกปี 

 

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การมาของ ChatGPT ที่ไม่ว่าจะหัวหน้ารุ่นเก๋า หรือ ลูกน้องรุ่นใหม่ ก็ต้องเริ่มต้นเรียนรู้ใช้งานจาก 0 ไม่ต่างกันนัก และถ้าลูกน้องรู้จักเทคนิคการ Prompt ที่ปลดล็อคศักยภาพของระบบออกมาได้ ก็อาจได้คำตอบที่มีตรรกะเหตุผลได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้้หัวหน้าผู้มากประสบการณ์เลยทีเดียว 

 

หรือการที่ลูกน้องคนรุ่นใหม่ รู้จักใช้เครื่องมือ Data Tools ต่างๆ เช่น Mandala Analytics ในการทำ Social Listening จนค้นหาต้นตอคอนเทนต์ไวรัลได้สำเร็จ ซึ่งช่วยให้คิดกลยุทธ์ได้เฉียบคมพร้อมมีข้อมูลซัพพอร์ตได้ไม่แพ้ผู้บริหารรุ่นเก๋าเลยทีเดียว

 

ไม่ดี & ไม่เก่งจริง

 

ต้องยอมรับว่า คนทำงานในฐานะลูกน้องหลายคนต้องการเติบโตในเส้นทางอาชีพ อยากเก่งมากกว่านี้ อยากอัพสกิลมากกว่านี้ แต่เรียนรู้ด้วยตัวเองไม่เก่ง หลายคน “ต้องการ senior ในทีม” เช่น หัวหน้าที่ดีและเก่งจริงเพื่อช่วยสอนงาน

 

แต่ความจริงพบว่า ลูกน้องบางคนเก่งกว่าหัวหน้าซะอีก และไม่ใช่เก่งกว่าแค่เนื้องาน แต่เก่งกว่าทั้งในแง่ทักษะการบริหาร การวางแผนจัดการ ตรรกะความคิด พอเป็นเช่นนี้ คนที่อยู่เหนือเราไม่ได้เก่งกว่าจริง การลาออกเพื่อไปโตที่อื่นอย่างยั่งยืนก็กลายเป็นทางเลือกที่ดีขึ้นมา

 

ทัศนคติบางอย่าง

 

หัวหน้าไม่ดีที่ลูกน้องอยากลาออกให้จบๆ ไป มักมีชุดความคิด Mindset บางอย่างที่ชวนถกเถียงโต้แย้ง ทั้งนี้ อาจเพราะมาจากยุคสมัยเจเนอเรชั่นที่หัวหน้าเติบโตมา หรือแบคกราวด์การทำงานที่พบเจอมาส่วนตัวจน shape ให้เป็นคนมีความคิดลักษณะนี้

 

  • อย่างเช่น หัวหน้าอาจมีทัศนคติว่า “การลาออกเป็นเรื่องของพนักงานส่วนบุคคล ไม่ได้เกี่ยวกับหัวหน้า” 

 

พอมีชุดความคิดแบบนี้ กลายเป็นว่าเอาตัวเองออกจากสมการ อยู่เหนือปัญหาทั้งหลาย และโยนการลาออกให้เป็นปัญหาของตัวพนักงานรายบุคคลเอง

 

ทั้งหมดนี้คือคาแรคเตอร์เด่นชัดของเหล่าหัวหน้าไม่ดี…ที่ลูกน้องเลยพร้อมใจกันลาออก เป็นอีกประเด็นที่ซีอีโอหรือผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญ เพราะท้ายสุดแล้ว พนักงานคือคนที่ลงมือทำงานจริงๆ และองค์กรขับเคลื่อนได้ด้วยคนเหล่านี้ ถ้าคนเก่งลาออกไปกันหมด องค์กรย่อมกระทบในระยะยาวแน่นอน

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...