Nike ปั้นองค์กรอย่างไร ? ทำไม “Just Do It” ถึงติดหูได้ขนาดนี้

Nike
จากจุดเริ่มต้นของผู้ก่อตั้งที่เป็นแค่ตัวแทนขายให้กับแบรนด์อื่น สู่อาณาจักร Nike ที่ครอบคลุมทุกอุปกรณ์กีฬาและแรงบันดาลใจ
  • นักกีฬาตัวท็อป ๆ ของโลกเป็นพรีเซนเตอร์ พร้อม slogan ติดหู “Just Do It”
  • Nike มีมูลค่าบริษัทกว่า 1.4 ล้านล้านบาท
  • เป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก

จุดเริ่มต้นของ Nike (ไนกี้)

Nike ก่อตั้งโดยคุณ Phil Knight เมื่อปี 1964 ในรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา  แรกเริ่มใช้ชื่อว่า Blue Ribbon Sports จนมาถึงปี 1971 ก่อนเปลี่ยนมาเป็นไนกี้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นชื่อเทพเจ้าแห่งชัยชนะในตำนานเทพเจ้ากรีกโบราณ การเปลี่ยนชื่อมาพร้อมการเปลี่ยน “โลโก้” ซึ่งคล้ายเครื่องหมายติ๊กถูก โดยอันที่จริงต้องการสื่อถึงสัญลักษณ์ความรวดเร็ว (ตวัด)

รู้หรือไม่? โลโก้นี้ออกแบบโดยคุณ Carolyn Davidson ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาอยู่เลย เขาได้รับค่าจ้างออกแบบโลโก้นี้ในราคา $35 เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดของ Nike!! เพราะปัจจุบันมันเป็นโลโก้ที่ถูกจดจำไปทั่วโลก และถูกตีมูลค่าสูงถึง 800,000 ล้านบาท!! ไนกี้เติบโตจนเป็น Global Brand และได้เทคโอเวอร์แบรนด์อื่นอีกมากมาย (เช่น Converse) บริษัทนี้ทำได้อย่างไร?

Phil Knight

เริ่มแรกคงต้องยกความดีความชอบให้แก่คุณ Phil Knight ผู้ก่อตั้ง Nike มาตั้งแต่เริ่มต้น  โดยเขายึดคติ Passion & Market คือทำในสิ่งที่หลงรักที่ตอบโจทย์ตลาดไปในตัว เพราะเมื่อเรารักในงานที่ทำ มักจะได้เนิ่นนานและทำได้ดี แถมยังมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจ

Phil Knight ก็ทำตามข้อนี้ด้วยตัวเอง เขาเป็นคนชอบวิ่งออกกำลังกายมากๆ และตั้งเป้าจะวิ่งไปจนแก่เฒ่า จึงอยากทำบริษัทรองเท้ากีฬาขึ้นมา ประกอบกับอเมริกาตอนนั้นยังไม่มีแบรนด์ยักษ์ใหญ่ครองตลาด  เขาเห็นโอกาสน่าสนใจนี้จึงเริ่มจากเป็นตัวแทนจำหน่ายรองเท้า Onitsuka Tiger ของญี่ปุ่น (ในนามบริษัท Blue Ribbon Sports) ซึ่งเหตุผลที่ญี่ปุ่นอนุญาตเพราะเห็นถึงแรงผลักดัน Passion ของเขาเวลาเสนอวิสัยทัศน์ 

เส้นทางการขายนี้ ทำให้ Phil Knight พบกับพาร์ทเนอร์คนหนึ่งที่เป็นโค้ชชื่อดังให้กับเหล่านักวิ่ง (ตอนหลังเป็นโค้ชนักกีฬาโอลิมปิกด้วย) นามว่า Bill Bowerman เค้าคนนี้ยังหมกมุ่นในการ “สร้าง” รองเท้าวิ่ง ซึ่งต่อมา Bowerman เปรียบได้กับฝ่าย R&D ของ Phil Knight (ทำในนาม Blue Ribbon Sports) เขาเสนอออกแบบสร้างรองเท้าคุณภาพสูงหนึ่งชื่อว่า Tiger Cortez (1965) ซึ่งขายดีถล่มทลาย และคิดขยายไปทั่วอเมริกา แต่ดันถูกปฏิเสธจาก Onitsuka Tiger เพราะก็ต้องการมาทำตลาดเองกับตัว

Phil Knight และ Bowerman จึงออกมาเปิดบริษัทใหม่ในชื่อว่า Nike โดยผลิตรองเท้านั้นที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Tiger Cortez…แต่เปลี่ยนชื่อเป็น Nike Cortez และนี่คือที่มาโดยย่อ ก่อนจะมาเป็นแบรนด์ Nike นั่นเอง

ไม่พูดมาก เจ็บคอ

Phil Knight ให้ความสำคัญมากๆ กับการทำให้ลูกค้าเห็นว่าผลิตภัณฑ์นี้ดี โดยจะแสดงให้ “เห็นกับตา” เลยผ่านนักวิ่ง โค้ช คนในวงการกีฬาต่างๆ ที่จะให้ลองสวมใส่ Nike นี่อาจเป็นพื้นฐานแนวคิดที่ทำให้เราเห็น Nike ทุ่มทุนสปอนเซอร์และโฆษณาจ้างพรีเซนเตอร์ที่ล้วนเป็นนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จระดับโลกทั้งนั้นมาอยู่ในมือ จนเดี๋ยวนี้เวลาเราเห็นภาพนักกีฬาเหล่านั้น ก็มักนึกถึง Nike พ่วงไปด้วยแบบยากไม่ขาด

Collaboration

Nike เป้นเจ้าแรกๆ ในอุตสาหกรรมที่ Collab กับแบรนด์อื่นไปทั่ว โดยตั้งแต่ปี 1984 ได้ Collab กับนักบาสชื่อดังอย่าง Michael Jordan ถึงกับออกแบรนด์แยกโดยเฉพาะคือ Air Jordan

ประวัติศาสตร์บอกเราว่า หลังจากนั้น Michael Jordan คือนักบาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ทำให้ยอดขาย Air Jordan โตระเบิด พร้อมๆ กับการรับรู้แบรนด์ Nike ไปในตัว (ปัจจุบันแบรนด์ Air Jordan มีรายได้กว่า 95,000 ล้านบาท)

Nike ยังได้ Collab กับนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จในทุกยุคทุกสมัยตลอดมา เช่น Cristiano Ronaldo และ Tiger Woods  และเมื่อแตกผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าทั่วไป ก็ไปจับมือ Collab กับเหล่าบรรดาดาราเซเลบ ทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ดูแฟชั่นขึ้นไปอีก

Consistency

เราจะสังเกตว่าทุกสิ่งที่ Nike ทำจะมีความต่อเนื่องมายาวนานหลายทศวรรษ  อย่างเช่น ”โลโก้” ที่แม้จะมีการปรับโฉมไป 2-3 ครั้ง แต่ล้วนคงเอกลักษณ์เครื่องหมายติ๊กถูกไม่เปลี่ยนแปลง รวมถึงสโลแกนในตำนานอย่าง “Just Do It” ซึ่งใช้ติดต่อกันมาหลายทศวรรษโดยไม่เปลี่ยนเลย มันได้ถูกบรรจุอยู่ในตำราเรียนการตลาดทุกที่ในโลก เพราะเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความทรงพลัง “Just Do It”

Image Cr. bit.ly/2QIjI7S

Emotive Branding (ที่มาของ slogan“Just Do It” )

แม้จะขายอุปกรณ์กีฬา แต่ Nike โฟกัสการสื่อสารแบรนด์ผ่าน “อารมณ์” ไม่ว่าจะงานโฆษณาสุดครีเอทีฟระดับโลก  หลายครั้งที่การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่จุดประกายความฝัน สร้างแรงบันดาลใจ ดึงดูดสุนทรียะ มากกว่าจะโฟกัสฟังก์ชั่นการใช้งาน ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากสโลแกน “Just Do It” เช่นกัน ที่ให้ความรู้สึกลงมือทำ(ซื้อ Nike แล้วไปวิ่งซะ)

แม้แต่ Mission Statement ของ Nike ยังกล่าวว่า “To bring inspiration and innovation to every athlete in the world. If you have a body, you are an athlete.” ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจและความคิดแง่บวก

.

.

ปิดท้ายด้วยข้อมูลน่าสนใจ

Nike มีพนักงานทั่วโลกกว่า 75,000 คน

ปี 2019 รายได้ทั้งหมด 1,230,000 ล้านบาท กำไรกว่า 127,000 ล้านบาท (รายได้ส่วนใหญ่มาจากภูมิภาค North America)

โดยประเภทสินค้าที่มีสัดส่วนรายได้มากที่สุดคือ เครื่องกีฬา (Sportswear) คิดเป็นสัดส่วนรายได้กว่า 40% เลยทีเดียว

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณอาจเหมาะกับองค์กรแบบ Nike ก็ได้นะ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Disney
Disney ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่โลกจินตนาการที่มีอยู่จริง
Walt Disney มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 9.6 ล้านล้านบาทปี 2019 เคาะรายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาทมอบความบันเทิงและโลกจินตนาการแก่ผู้คนทั่วโลกทุกวันนี้เวลาเรานึกถึงดิสนีย์เรามักนึกถึง...
การตั้งชื่อ
Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ...
Burnout
สัญญาณ Burnout : ทำไมการ ‘พร้อมเพื่อทุกคน’ อาจทำร้ายคุณ?
ในยุคที่ทุกอย่างเป็น “Always on” หรือพร้อมทำงานตลอดเวลา อาการ Burnout กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มคนทำงานโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสำหรับคนที่มักจะ...