Morning Routine Hack: เมื่อช่วงเช้าดี ทั้งวันก็ดีตาม

Morning Routine
การเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีมีผลอย่างมากต่อทั้งวันของคุณ เปรียบเสมือน "First Impression" ที่ช่วยกำหนดโทนของสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป
  • รีบตื่นแต่เช้าตรู่ จะได้มีเวลาทำงานมากกว่าคนอื่น
  • และรีบนั่งทำงานที่ใช้สมองหนักๆ
  • ก่อนวางแผนการทำงานทั้งสัปดาห์ที่เหลือ

นี่แทบจะเป็นสูตรสำเร็จของใครก็ตามที่อยาก Productive และเป็นแนวคิดที่อยู่ใน “สื่อกระแสหลัก”

แต่ความจริงแล้ว มันอาจไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป ยังมีทางเลือกอื่นที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนหลากหลายกลุ่ม ยังมี Morning Routine Hack ใหม่ๆ นอกกระแสหลักที่รอเซอร์ไพรส์คุณอยู่!!

Morning Routine Hack: เมื่อช่วงเช้าดี ทั้งวันก็ดีตาม

การเริ่มต้นเช้าตรู่วันใหม่ในแต่ละวัน ก็ไม่ต่างจาก ”First Impression” ของแต่ละทริปท่องเที่ยวของเรา

ถ้า First Impression ดี…ได้รับการต้อนรับอย่างประทับใจ ได้รับบริการอันแสนอบอุ่น ทริปนั้นทั้งทริปของเราก็แทบจะเป็นความทรงจำดีๆ ที่ดีไปเลย

นอกจากนี้ การเริ่มต้นเช้าวันใหม่ยังส่งผลกับเราโดยตรง ทั้งด้านความพร้อมด้านร่างกาย / การจัดระเบียบความคิด / กระบวนการทำงาน / อารมณ์ความรู้สึก ฯลฯ ที่จะเป็น “รากฐาน” อันแข็งแกร่งปูทางให้กับวันนั้นที่เหลือตลอดทั้งวัน

First Impression หรือการเริ่มต้นในแต่ละวัน จึงมีความสำคัญกับเราทั้งในแง่พัฒนาการชีวิตและความทรงจำอย่างมโหฬาร

แล้วเราจะมี Morning Routine Hack ที่ส่งผลดีทั้งด้านการงาน / ความสัมพันธ์ / สุขภาพ / และชีวิตความเป็นอยู่ของเราได้อย่างไร?

อย่าหมกมุ่นกับการ “ตื่นเช้า” จนเกินไป

จากสื่อกระแสหลัก เรามักได้ยินว่า “บุคคลสำเร็จ x ตื่นเช้า” เป็นของคู่กันราวกับว่าถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จ…คุณต้องหัดตื่นเช้าให้ได้ซะก่อน จะได้มีเวลาทำงานมากกว่าใคร!

แต่ Dr. Matt Walker นักวิทยาศาสตร์ด้านการนอน และผู้เขียนหนังสือขายดี Why We Sleep เผยว่ามันอาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะมนุษย์เราแต่ละคนมี นาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้บางคนตื่นสาย-บางคนตื่นเช้า เป็นธรรมชาติในตัว และยากมากๆ ที่จะ “เปลี่ยน” มันอย่างถาวรได้

รู้หรือไม่ว่า Mark Zuckerberg ซีอีโอใหญ่ Facebook เป็นคนที่ตื่นนอนประมาณ 8 โมง ซึ่งถือว่า “สาย” มากๆ เมื่อเทียบกับ CEO ระดับโลกคนอื่นๆ 

  • Tim Cook ซีอีโอ Apple ตื่นตี 4
  • Bob Iger อดีตซีอีโอ Disney ตื่นตี 4 ครึ่ง
  • Jack Dorsey ซีอีโอ Twitter ตื่นตี 5

แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคหรือความผิดปกติต่อ Mark Zuckerberg แต่อย่างใด เพราะเป็น Biological clock ในตัว เป็นเวลากลมกล่อมที่เขารู้สึกสดชื่น แข็งแรง สมองแล่นทุกวัน เขาเคยกล่าวว่า “ผมเป็นคนที่ไม่เคยชอบช่วงเช้ามืดเลย”

ไม่กินมื้อเช้า 

รู้หรือไม่ว่า ทางการแพทย์ยังถกเถียงกันอยู่เลย (ยังหาข้อสรุปไม่ได้) ว่า “มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดจริงๆ หรือไม่? เพราะจากงานวิจัยมากมาย ปรากฎว่าผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ได้สนับสนุนแนวคิดนี้อย่างชัดเจน

ข้อสรุป ณ ตอนนี้คือ สำหรับวัยผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ใช้แรงงานหนักแต่อย่างใด…การไม่กินมื้อเช้าไม่ใช่เรื่อง “คอขาดบาดตาย” จะกิน/ไม่กินก็ได้ (แต่สำหรับเด็กวัยเจริญเติบโต มื้อเช้ายังสำคัญมาก)

อันที่จริง การไม่กินมื้อเช้า เป็นเรื่องปกติของใครหลายคนด้วยซ้ำ

  • ชาวอังกฤษ 1/3 ไม่กินมื้อเช้า
  • ชาวอเมริกัน 1/4 ไม่กินมื้อเช้า

วัฒนธรรมการกินมื้อเช้าแบบจัดเต็มที่เราเคยชินอยู่ทุกวันนี้ มีหลักฐานว่าเชื่อมโยงมาจากอิทธิพลของบริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร (เช่น Kellogg’s) ที่ “สร้างวัฒนธรรม” นี้ผ่านงบโฆษณานับหมื่นล้านมาตั้งแต่ยุค 1960s

แต่ความจริงที่ไม่ค่อยมีใครรู้นักคือ CEO ระดับโลกหลายคนก็ไม่ได้รับประทานมื้อเช้า!

เรื่องนี้ไม่มีใครเด่นชัดไปกว่า Bill Gates อีกแล้ว ตัวเขาป่าวประกาศเองว่าเป็นคน “ไม่กินมื้อเช้า” มาตั้งแต่หนุ่มแล้ว โดยเอาเวลานี้ไปทำอย่างอื่นแทน

ส่วนมื้อเช้าของ Elon Musk มีแค่ “ไข่เจียว + กาแฟ” ซึ่งเขากินเป็น “บางวัน” ต่อสัปดาห์เท่านั้น ที่เหลือก็ข้ามมื้อเช้าไปกินมื้อเที่ยงทีเดียว

Jack Dorsey ก็เป็นอีกหนึ่ง CEO ที่ไม่กินอาหารเช้า โดยบ่อยครั้ง เขาถึงกับทำการอดอาหาร (Fasting) กินแค่วันละ 1 มื้อเท่านั้น!

มื้ออาหารเช้าโดยปกติจะกินเวลาอย่างน้อย 30-45 นาที (กรณีที่เป็นคนทำเอง) เมื่อรวมการเตรียมอาหาร ทำอาหาร รับประทาน และล้างจานทุกอย่าง 

การไม่รับประทานอาหารเช้า (หรืออย่างมากแค่ดื่มอะไรซักแก้วนึงจบ) เราจึงมีเวลา “เพิ่มขึ้น 30-45 นาที” เป็นอย่างน้อยโดยทันที นี่ดูเหมือนเป็นเวลาที่ไม่เยอะมากสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่สำหรับผู้บริหาร…ทำอะไรได้เยอะมาก!

Rule of Awkward Silence

ช่วงเวลาเงียบๆ เช้าตรู่ เป็นโอกาสทองในการฝึกสิ่งที่เรียกว่า “Rule of Awkward Silence” คือการ “ตั้งคำถามยากๆ” กับตัวเองซึ่งเป็นเชิงปรัชญาหรือวิสัยทัศน์ในอนาคต คำถามลักษณะนี้มักไม่สามารถตอบแบบครอบคลุมได้ทันที แต่ต้องอาศัยการขบคิดอย่างลึกซึ้ง บางครั้งอาจกินเวลาหลายนาที

Elon Musk เป็นคนหนึ่งที่ทำ Rule of Awkward Silence เป็นประจำเมื่อมีใครก็ตามที่ตั้งคำถามยากๆ เค้าแทบจะเข้าสู่ “ภวังค์” อยู่กับความคิดตัวเองในหัว ช่วงจังหวะนี้เขาจะเงียบไปพักใหญ่ บรรยากาศรอบตัวอึดอัด แต่สุดท้าย Elon Musk มักให้คำตอบที่น่าพอใจแก่ทุกฝ่าย

ปี 1997 หลังจาก Steve Jobs กลับมาทำงานที่ Apple เขาถูกเยาะเย้ยกลางงานสัมมนาใหญ่จาก Developer คนหนึ่งว่า “คุณไม่รู้หรอกว่าคุณกำลังพูดถึงอะไร” Jobs ดื่มน้ำ 10 วินาที ก่อนพูดติดตลก 1 ประโยคสั้นๆ และนั่งคิดเงียบๆ ต่ออีกเกือบ 10 วินาที! ก่อนจะให้คำตอบอันน่าพอใจที่เรียกเสียงปรบมือจากทั่วห้องในที่สุด

อย่าออกกำลังกาย(หนัก)

สอดคล้องกับร่างกายและระบบการย่อยอาหาร ช่วงเช้าไม่ใช่ช่วงเวลาที่ควรฝึกซ้อมออกกำลังกายหนักหักโหม แต่ควรเป็นเวลาอื่นของวันมากกว่า เช่น ตอนเที่ยง

เรามักได้ยินว่าออกกำลังกายแต่เช้าเพื่อให้สมองปลอดโปร่งและร่างกายฟิต อันที่จริง การ “ออกกำลังกายเบาๆ” อย่างเช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว การออกหนักเกินไปกลับเป็นผลเสียให้ร่างกายเหนื่อยล้าไม่พร้อมสู้หน้า

นี่อีกเป็นเหตุผลว่าทำไม การแข่งขันกีฬาใหญ่ๆ แทบไม่มีกีฬาไหนเลยที่จัดแข่งตอนเช้าตรู่

อยู่กับความเงียบ

ท่ามกลางโลกที่วุ่นวายหมุนไปอย่างรวดเร็ว ความเงียบจะยิ่งกลายเป็นความหรูหราใหม่ในอนาคต และช่วงเช้าเป็นช่วงเวลาที่เราสัมผัสความหรูหรานี้ได้มากที่สุดของวันก็ว่าได้

คุณ Sundar Pichai ซีอีโอใหญ่ Google ไม่ได้ใช้เวลาช่วงเช้าไปกับการทำงานเฉพาะหน้า แต่ใช้ไปกับการนั่งเงียบๆ ที่บ้านและขบคิดเฉพาะ “ภาพใหญ่” ของบริษัท สังคม โลก เป็นการทบทวนไปในตัวว่า งานประจำแต่ละวันมุ่งหน้าไปในทิศทางภาพใหญ่ที่วางไว้หรือไม่

และดังที่กล่าวไป Jack Dorsey ไม่ทานมื้อเช้า แต่เอาเวลาตรงนี้ที่ประหยัดได้ไป “นั่งสมาธิ” เงียบๆ เป็นเวลา 30 นาทีหลังตื่นนอน เพื่อฟื้นสติจากความงัวเงีย และวอร์มอัพสมองพร้อมรับวันใหม่

ซาบซึ้ง & ขอบคุณ

“ความสำเร็จจะมีความหมายอะไรถ้าเราไม่รู้สึกซาบซึ้งไปกับมัน?”

นี่เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมยามเช้าที่ถูกประเมินค่าต่ำเกินไป (Underrated activity)

จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการซาบซึ้ง (Appreciation) สิ่งรอบตัวตอนเช้าคือ “สร้างพลังบวก” ให้ประทับลงในใจตั้งแต่เริ่มต้นวัน (First Impression ของวัน) 

พวกเราทราบกันดีว่า ถ้าวันไหนมีแต่เรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นตั้งแต่เช้าตรู่ วันนั้นเราอาจ “อารมณ์เสีย” ไปทั้งวันได้เลย

การซาบซึ้งยังเป็นการหวนระลึกถึงความสำเร็จที่ผ่านมา และเป็นการ review ไปในตัว

ตื่นมาวันพรุ่งนี้ คุณลองซาบซึ้งสิ่งรอบตัวที่มี-ที่เป็น-ที่ทำสำเร็จ

  • บ้านหลังใหญ่ 4 ห้องนอน พร้อมรถในฝัน
  • ครอบครัวที่อบอุ่น มีเวลาให้แก่กัน
  • ธุรกิจที่ราบรื่น และสร้างประโยชน์ให้สังคมตามที่หวังไว้
  • ร่างกายยังแข็งแรง สมองยังคิดงานหนักๆ ไหวอยู่
  • ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อนบ้านเป็นมิตร

แต่ละคนก็จะมีรายละเอียดความซาบซึ้งที่เป็นปัจเจกของใครของมัน ไม่ว่าจะซาบซึ้งแบบไหน ย่อมสร้างพลังบวกและเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีได้ไม่ยาก

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Disney
Disney ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่โลกจินตนาการที่มีอยู่จริง
Walt Disney มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 9.6 ล้านล้านบาทปี 2019 เคาะรายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาทมอบความบันเทิงและโลกจินตนาการแก่ผู้คนทั่วโลกทุกวันนี้เวลาเรานึกถึงดิสนีย์เรามักนึกถึง...
การตั้งชื่อ
Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ...
Burnout
สัญญาณ Burnout : ทำไมการ ‘พร้อมเพื่อทุกคน’ อาจทำร้ายคุณ?
ในยุคที่ทุกอย่างเป็น “Always on” หรือพร้อมทำงานตลอดเวลา อาการ Burnout กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มคนทำงานโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสำหรับคนที่มักจะ...