Job Demotion หรือการ “ปรับลดตำแหน่งพนักงาน” เป็นกลยุทธ์ที่เข้าข่ายเรื่องนี้…ถูกลดเกรด แต่สุดท้ายกลับได้คุณภาพพรีเมียมขึ้น
สมัยก่อน คำนี้มักมีภาพลักษณ์ที่น่ากลัวเวลาได้ยินครั้งแรก และคนมัก assume ไปว่าพนักงานคนนั้นต้องไร้ศักยภาพ หรือองค์กรอยู่ในช่วงขาลงเลยต้องทำอะไรแบบนี้แน่เลย
แต่ถ้าเรามาดูรายละเอียดดีๆ บางทีอาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด กลับกัน เป็นประโยชน์ win-win กับทุกฝ่ายมากขึ้นด้วยซ้ำ! โดยเฉพาะในยุคสมัยนี้ Job demotion หลายเคสมาจากความต้องการของตัวพนักงานเอง! เพราะต้องการ work-life balance ที่ดีขึ้น หรือตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ไม่คุ้มเสียกับสิ่งที่ต้องเสียต้องเสียแลกไป
คือ Talent คนนั้นอ่านเกมออก มองตัวเองขาด เพราะค้นพบว่าได้กำหนดลิมิตเพดานไว้เท่านี้ซึ่งเป็นจุดลงตัวที่สุดแล้ว (Equilibrium) ทั้งความรับผิดชอบ ความกดดัน สถานะ จนไปถึงรายได้ กล่าวคือ เจ้าตัวไม่อยากโตไปมากกว่านี้แล้วเพราะรู้ว่า “ยิ่งสูง-ยิ่งหนาว” ตำแหน่งยิ่งใหญ่โต ความรับผิดชอบยิ่งมากตาม ความเครียดทวีคูณ เวลาว่างกับครอบครัวน้อยลง ชีวิตมีแต่งาน งาน งาน แม้ผลตอบแทนจะสูงขึ้น…แต่ก็มองว่าไม่คุ้มค่าที่จะแลก
ในมุมหนึ่ง Job demotion ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นเหมือนการถอยกลับมาหนึ่งก้าว…เพื่อก้าวกระโดดต่อไปในอนาคต เป็นการเปลี่ยน Talents คนใหม่มาแทนที่ที่มีความเหมาะสมกว่า Put the right man on to the right job
และถือเป็นการปกป้องบริษัทไปในตัว เพราะเหตุผลยืนหนึ่งของ Job demotion ค่อนข้างตรงไปตรงมา นั่นคือ Talents ในทีมคนนั้น perform ได้ไม่ดีเท่าที่คาดหวัง เช่น ทำยอดขายไม่เข้าเป้า ปิดดีลลูกค้าไม่ได้ หรือมีข้อผิดพลาดใหญ่เกิดขึ้นในโปรเจคท์ที่สร้างผลกระทบตามมา
- เช่น พนักงานด้าน Creative เน้นหัวครีเอทีฟและการไม่อยู่ในกรอบ ที่กระโดดข้ามสายเติบโตไปเป็น Strategist เน้นวางแผนคิดวิเคราะห์ คำนวณตัวเลขอย่างรอบคอบ…อาจพบว่าตัวเองทำได้ไม่ดี ไม่ใช่สายที่ถนัด ถ้ามองในระยะยาว การถูก Job demotion กลับไปเป็น Creative และพัฒนาสกิลจนสุดทางนี้เพื่อไปเป็น Art director อาจจะเหมาะสมกว่าด้วยซ้ำ
และเพื่อป้องกันความบาดหมางกัน หัวหน้าต้องแจกแจงดีเทลอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้ว่า Job demotion ที่เกิดขึ้น จะมีประโยชน์ส่งผลดียังไงต่อคนที่ถูกลดตำแหน่ง
- เช่น มีเวลากลับมา review ทบทวนตัวเองจริงๆ จังๆ ว่านี่คือเส้นทางอาชีพที่ชอบและถนัดหรือไม่
- เมื่อความรับผิดชอบน้อยลง จึงมีเวลาว่างมากขึ้น ก็สามารถนำไป upskill-reskill ในส่วนที่ขาด จนไปถึงค้นหา passion ใหม่ๆ นอกงานประจำก็ยังได้ด้วยซ้ำ
ไม่ว่ายังไงก็ตาม ในขั้นตอนการทำ Job demotion หัวหน้าต้องทำแบบประณีต ละเอียดอ่อน สุภาพ ถ่อมตน มืออาชีพ มี empathy ใจเขาใจเรา ให้คิดเสมอว่าถ้าเป็นตัวเราบ้างล่ะที่โดน…จะอยากถูกปฏิบัติอย่างไร?
หัวหน้าอย่างเราเองก็มีสิทธิ์โดนเช่นกันจากคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าขึ้นไปอีกที โดยในช่วงปีโควิด มีผลวิจัยในองค์กรกว่า 1,000 แห่งพบว่า Job demotion เกิดขึ้นกับพนักงานกว่า 18% และเป็นระดับบริหารไม่น้อยเลย โดยแบ่งเป็น
- 38% Senior Management
- 20% Middle Management
- 28% Executive
จะเห็นว่าจากเดิมที่ Job demotion มีแต่เรื่องลบๆ ถ้าเราทำอย่างประณีตคิดรอบคอบ ก็มีด้านบวกที่ดีกับทุกฝ่ายเช่นกัน
อ้างอิง
- https://www.indeed.com/career-advice/career-development/how-to-request-demotion-at-work
- https://www.workitdaily.com/covid-19-layoffs-impacted-employees/78-of-employees-absorbed-the-responsibilities-of-those-who-had-been-laid-off
- https://www.thebalancemoney.com/how-to-handle-a-demotion-2064272