คำถามสัมภาษณ์งาน ถามยังไงให้เจอคนที่ใช่!

คำถามสัมภาษณ์งาน
คุณสร้างสรรค์ผลงานอะไรมาบ้าง หรือมีไอเดียอะไรมาเสนอที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำองค์กรระดับโลกหลายท่านยึดเป็นแก่นในการพบเจอคนที่ใช่ แล้วในฐานะคนสัมภาษณ์ เราจะหาสิ่งนี้ได้อย่างไร?

เรารู้ดีว่า “คน” คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กร บริษัทจะโตระเบิดหรือดิ่งลงเหวก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพคนที่คัดเลือกเข้ามา หนึ่งในด่านที่สำคัญที่สุดคือการ “สัมภาษณ์” แล้วเราควรสัมภาษณ์แคนดิเดตอย่างไร…ด้วย “คำถาม” อะไรเพื่อให้เจอคนที่ใช่? แก่นของการสัมภาษณ์คือ การมองหา “หลักฐานที่บ่งบอกความสามารถอันเป็นเลิศ” (Evidence of Exceptional Ability)

คุณสร้างสรรค์ผลงานอะไรมาบ้าง หรือมีไอเดียอะไรมาเสนอที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำองค์กรระดับโลกหลายท่านยึดเป็นแก่นในการพบเจอคนที่ใช่ แล้วในฐานะคนสัมภาษณ์ เราจะหาสิ่งนี้ได้อย่างไร?

ปัญหาเชาว์

“ถ้าคุณเดินขึ้นทิศเหนือ 1 กม. และเดินไปทิศตะวันออกอีก 1 กม. และเดินไปทิศใต้อีก 1 กม. และพบว่าคุณกลับมาอยู่ที่เดิมตอนแรกสุด…คุณอยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ได้บ้าง?”

นี่คือหนึ่งในปัญหาเชาว์ที่หลายคนตะลึงเมื่อสมัครงานที่บริษัท SpaceX แคนดิเดตหลายคนก็ให้เหตุผลที่แตกต่างกันไป ซึ่งแน่นอน…ไม่มีผิด-ถูก คำถามลักษณะนี้เกี่ยวข้องยังไงกับเนื้องาน? ไม่ได้เกี่ยวโดยตรง แต่เนื่องจากเราอยู่ในยุคที่โลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ย่อมเจอปัญหาที่ไม่มีคำตอบตายตัว เจอปัญหาใหม่ๆ ที่ยังไม่มีสูตรสำเร็จหรือคนที่ผ่านมาก่อน คำถามลักษณะนี้ทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นตรรกะการคิดวิเคราะห์ วิธีการประมวลผลข้อมูล รู้ไหวพริบในการแก้ปัญหา หรือแม้แต่ปฏิกิริยาอารมณ์ EQ (บางคนลนลานจนเหงื่อแตก) แคนดิเดตที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบนี่แหล่ะที่จะนำพาองค์กรไปต่อได้นั่นเอง

เล่าวิธีการแก้ปัญหาให้ละเอียดที่สุด

Journal of Applied Research in Memory and Cognition วารสารวิชาการชั้นนำด้านสมองและความทรงจำ เผยว่า…

ยิ่งคำตอบละเอียดจนเห็นภาพมากเท่าไร คนนั้นยิ่งมีโอกาสพูดความจริงมากเท่านั้น นอกจากนี้คนที่พูดความจริงยังมีแนวโน้มเปิดเผยความไม่รู้ (Ignorance) บางอย่างในเรื่องที่เล่าด้วย ซึ่งเป็นความซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรงไปตรงมาที่องค์กรต้องการ ซึ่งจะว่าไปแล้ว มีความคล้ายคลึงกับคำถามที่ดูเหมือนเรียบง่ายที่ Elon Musk ใช้ถามแคนดิเดตเสมอ นั่นคือ “Tell me about some of the most difficult problems you worked on and how you solved them.” – จงบอกปัญหาที่ยากที่สุดในการทำงานและคุณแก้มันอย่างไร

เขาพบว่า นอกจากคำตอบจะบอกได้ว่าใครเป็นคนพูดความจริง-ใครโกหกแล้ว ยังแสดงถึงบทบาทความเป็นผู้นำด้วย ผู้ตอบบางคนเป็นแค่สมาชิกส่วนหนึ่งของทีมในการแก้ปัญหา ขณะที่ บางคนเป็นคนกุมบังเหียนนำพาทีมทั้งหมดไปสู่การแก้ปัญหา

ย่อยข้อมูล

ให้แคนดิเดตอธิบายอะไรก็ได้ที่ยากซับซ้อนมากๆ (แต่เขารู้ดี) ให้คุณเข้าใจภายใน 5 นาที คำถามนี้วัดกึ๋นทักษะการสื่อสารและการเรียบเรียงย่อยข้อมูลให้คนอื่นเข้าใจง่ายซึ่งเป็นทักษะสำคัญแห่งทศวรรษนี้ ข้อมูลมหาศาลเกิดใหม่ทุกวัน เป็นเราที่ต้องคัดเลือกและหยิบมาย่อยให้เพื่อนร่วมทีม คู่ค้า และ…ลูกค้าเข้าใจ โดยเฉพาะถ้าอยู่ในวงการสื่อ เอเจนซี่ หรือครีเอทีฟที่ต้องดีลกับข้อมูลใหม่และผลิตคอนเทนต์ใหม่ทุกวัน มีบริษัทเกิดใหม่หลายแห่งที่ชำนาญด้านนี้ สร้างคอนเทนต์เรื่องยากให้เข้าใจง่าย(และสวยงาม) จนกลายเป็นมาตรฐานใหม่ในวงการ และสามารถก้าวขึ้นมาเทียบชั้นกับเจ้าตลาดได้ในที่สุด 

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นหนึ่งที่ผู้สัมภาษณ์เองต้องระวังตัวเองคือ การมี “มโนทัศน์ไปก่อนล่วงหน้าแล้ว” (Pre-perception) ถึงเรื่องระดับ “การศึกษา” ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลที่ออกมาจากปากของแคนดิเดต

HR ต้องเตือนสติตัวเอง อย่าโฟกัสที่แบคกราวน์การศึกษาจนเกินไป ผลวิจัยมากมายระบุว่า มีความสัมพันธ์น้อยมากๆ ระหว่างระดับชั้นการศึกษาและประสิทธิภาพการทำงาน ที่เป็นเช่นนี้เพราะ การศึกษาในระบบโดยทั่วไปอาจทำให้เรารู้จักชีวิตในภาพรวมก็จริง แต่ไม่ได้ส่งผลให้เรามี Productivity ประสิทธิผลการทำงานขนาดนั้น

นอกจากนี้ ยิ่งสังคมให้ความสำคัญกับการศึกษาในระบบมากเท่าไร ผู้คนยิ่งไต่เต้าศึกษาให้มากขึ้นเท่านั้น จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า “Degree Inflation” ความเฟ้อของวุฒิการศึกษา ใบปริญญาที่เราครอบครองมีค่าน้อยลงเพราะคนอื่นเค้าก็มีกัน (“เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็จบโทเมืองนอก”)

แบบประเมินอาชีพ

HR ที่รู้งานต้องไม่ลืมถามแคนดิเดตแต่เนิ่นๆ ว่า ก่อนร่อน Résumé ได้ลองทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa แล้วหรือยัง ว่านี่คืองานที่เขาอยากทำจริงๆ? ถ้ายังก็รีบส่งลิ้งค์นี้ให้เขาซะ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ปรี๊ดแตก

ลองให้แคนดิเดตเล่าเหตุการณ์ที่เคยโกรธที่สุดในชีวิตและเขามีวิธีจัดการมันอย่างไร คำถามนี้แสดงถึงการควบคุมอารมณ์ ไม่ใช่แค่ความฉลาดทาง IQ แต่ความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ ก็สำคัญไม่แพ้กัน (สำคัญกว่าในบางสายงานด้วยซ้ำ) 

องค์กรทำงานเป็นทีม ความขัดแย้ง (Conflict) ระหว่างเพื่อนร่วมงานย่อมปะทุได้เป็นธรรมดา มืออาชีพเท่านั้นที่จะไม่ให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลและไม่เก็บมาเป็นเรื่องส่วนตัว

ความผิดพลาด

ถามถึงความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตการทำงานที่แคนดิเดตได้เคยทำลงไป  หากเขาตอบว่า ‘ไม่มี’ ให้รู้ไว้เลยว่าเขากำลังโกหก เพราะไม่มีใครไม่เคยทำพลาด องค์กรรู้ดีว่าเมื่อรับคนนี้เข้ามา ไม่ช้าก็เร็ว ย่อมต้องเกิดความผิดพลาดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

คำถามนี้จึงเป็นการวัดว่าเขาได้เรียนรู้อะไรในอดีต สาเหตุของความผิดพลาด วิธีการแก้ไข แนวทางไม่ให้เกิดซ้ำรอย รวมถึงการยอมรับตัวเอง และเป็นบททดสอบอีโก้ส่วนตัว

เทรนด์ที่จะเกิด

ให้พูดถึงเรื่องที่กำลังจะกลายเป็นกระแสหลักในอนาคตอันใกล้…และบริษัทสามารถทำอะไรได้บ้าง? นี่เป็นเทคนิคที่ชี้วัดว่าแคนดิเดตมองไปข้างหน้ามากแค่ไหน ติดตามข่าวสารปัจจุบันและข้อมูลประเภทไหน มีมุมมองต่ออนาคตอย่างไร

เช่น Wellness & Medical Retreat และ Plant-Based Foods มาแน่ๆ แล้วจะส่งผลกระทบยังไงต่อพฤติกรรมผู้บริโภค อะไรคือตัวขับเคลื่อน มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งเสริม จะกลายเป็นกระแสหลักได้ต้องมีเงื่อนไขก่อน บริษัทต้องทำอะไรถึงจะได้ประโยชน์ มันคือการมองหาโอกาสและรีบฉกฉวยก่อนโดนคนอื่นแย่ง HR ที่มีวิสัยทัศน์ไม่ได้จ้างคนที่ความสำเร็จในอดีตเท่านั้น แต่จ้างคนที่มีศักยภาพจะนำพาความสำเร็จในอนาคตมาให้ด้วย!

ทำแบบ “แบบประเมินอาชีพ” ฟรีจาก CareerVisa เพื่อค้นหาตัวเองและสายอาชีพที่ชอบ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

openai
ข่าวดี! OpenAI Academy เปิดให้เรียนรู้ AI ฟรีแล้ววันนี้!
CareerVisa ขอแนะนำแพลตฟอร์มใหม่จาก OpenAI ที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจทั่วไปก็สามารถเรียนรู้และใช้งาน AI ได้อย่างมั่นใจ...
discipline
ฝึกตัวเองให้มีวินัยขั้นสุดยอด อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ด้วยสิ่งนี้ โดย Andrew Huberman
สำหรับใครที่รู้สึกว่าควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ ไม่มีวินัยเอาซะเลย วันนี้ CareerVisa จะมาเล่าให้ฟังแบบบ้านๆ เรื่องอยากมีวินัย (discipline) ให้ฟังว่าทำยังไงถึงจะฝึกวินัยได้แบบเป็นวิทยาศาสตร์...
Kelly McGonigal
"เครียดยังไงให้กลายเป็นพลังบวก" สรุปแนวคิดจาก Kelly McGonigal นักจิตวิทยาด้านสุขภาพและผู้เขียนหนังสือ "The Upside of Stress"
วิธีคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนมุมมองต่อความเครียดเพื่อใช้มันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง 1. มองความเครียดเป็นพลัง ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว การเชื่อว่าความเครียดช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับมือความท้าทาย...