แค่ Growth Mindset ไม่พอ เพราะยุคนี้ต้อง Mobility Mindset

ปกติเราได้ยินคำว่า Growth Mindset จนคุ้นหูและน่าจะรู้ความหมายกันแล้ว แต่ตอนนี้มีคำใหม่คำนึงที่เริ่มถูกพูดถึงกันมากขึ้นในวงการ Career/HR นั่นคือคำว่า “Mobility Mindset”

Mobility Mindset มีความเปิดกว้างและยืดหยุ่นกว่า Growth Mindset เราอาจไม่ต้องเก่งที่สุดในสายงานนี้ก็ได้ในเมื่อมีตำแหน่งงานอื่นที่อื่นที่ดีและเหมาะสมกว่า เราเชื่อว่าโอกาสดีๆ ไม่ได้มีอยู่แค่ที่เดียว เราเชื่อว่าสกิลความรู้ที่ต้องมีจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการตลาดและเทคโนโลยีในแต่ละยุค 

 

พนักงานที่มี Mobility Mindset จะไม่ได้มองการโยกย้ายงานแค่ด้านกายภาพ เช่น ย้ายสถานที่ทำงาน นั่งทำออฟฟิศ นั่งทำที่บ้าน หรือนั่งที่รีสอร์ทชายหาด และไม่ได้โฟกัสว่าจะต้องได้รับการโปรโมตเลื่อนขั้นเสมอไป 

 

แต่มันคือ Mobility ที่เริ่มมาจากข้างในลึกถึงระดับจิตวิญญาณ ไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ท้าทายเรื่องที่ไม่คุ้นเคย กล้าเปิดรับโอกาสใหญ่ๆ แม้ยังไม่พร้อมสมบูรณ์

 

คาแรคเตอร์ของ Mobility Mindset?

 

หัวใจของ Mobility Mindset คือ ความรวดเร็วและความยืดหยุ่น (Agility & Resilience) เปรียบได้กับเวลาเราเปิด Google Maps แล้วดันขับรถเลยซอย ระบบจะ Re-route ปรับเส้นทางให้เราใหม่ทันที 

 

ในการทำงานก็เช่นกัน คนที่มี Mobility Mindset จะปรับตัวและหาทางออกให้กับปัญหาใหม่ที่ไม่คาดคิด ณ ตอนนั้นเลย เราจะไม่จมปลักกับความผิดพลาดในอดีตว่าทำไมเปิดแมพแล้วแต่ยังขับเลย พนักงานที่มี Mobility Mindset จะคอยมองหาโอกาสน่าสนใจใหม่ๆ (Growth opportunities) อยู่ตลอด ไม่ยึดติดกับความก้าวหน้าเดิมๆ เพราะแม้จะนำพาความสำเร็จมาให้คุณได้ระดับนึงแล้ว แต่ไม่สามารถทำให้คุณไปต่อได้สเกลใหญ่กว่านี้ 

 

เช่น การมาถึงของ ChatGPT-4 ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเวอร์ชั่นเก่าถึง 500 เท่า คนที่มี Mobility Mindset จะสละทิ้งการใช้งานเดิมๆ ที่เคยมีและรีบเปิดใจรับเวอร์ชั่นใหม่นี้ด้วยความตื่นเต้น

 

ในระดับของจิตใจ Mobility Mindset จะมองว่าทุกสิ่งที่ได้รับหรือเกิดขึ้นเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” และพร้อมไปต่อเสมอ ไม่รอแล้วนะ…ชีวิตคือการเดินทางเคลื่อนที่อยู่เสมอ

 

เทรนตัวเองให้มี Mobility Mindset

 

มีอยู่เทคนิคนึงเรียกว่า “LAVERR” ที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการคิดแบบ Mobility Mindset ในตัวเรา


  • Lateral – เริ่มจากสิ่งใกล้ตัว

เป็น Mobility ขั้นแรกที่เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวก่อน ด้วยการโยกย้ายไปทำงานอื่นๆ ภายในทีม การหมุนเวียนได้เรียนรู้งานต่างๆ ในทีมช่วยสร้างความรู้สึก Interdependence ให้เราคิดอยู่เสมอว่า ความสำเร็จของเรามาจากเพื่อนร่วมทีมเสมอ ไม่มีใครคนทำงานคนเดียวได้ ทุกคนต้องพึ่งพากัน 

 

แถมเป็นวิธีสร้าง Empathy ที่ดีเยี่ยม เช่น สมัยก่อน Content Creator อาจไม่รู้เลยว่า Graphic Designer ทีมเดียวกันทำงานหนักหนักแค่ไหนกว่าจะได้ภาพสวยๆ ออกมาแต่ละภาพ พอตัวเองต้องมาทำเองบ้างด้วย Canva ถึงได้รู้ว่ามันมีขั้นตอนกระบวนการคิดไม่น้อยกว่าจะได้ภาพผลงานดีๆ ออกมาซักชิ้น


  • Enrichment – ให้แวลูกับตัวเอง

เป็นการเลือกทำงานที่รัก ที่มี Passion ที่รู้สึกว่าได้ Contribute สร้างคุณค่าบางอย่างให้ลูกค้าและสังคม นอกจากนี้ ยังเป็นหมายถึงการเก่งให้ลึก เป็น Specialist ในสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด และสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้นกว่าเดิมเสมอ


  • Vertical – โตช้าๆ แต่โตต่อเนื่อง

เส้นทางอาชีพของคนเรา อาจไม่ได้เป็นกราฟบวกเส้นทางชันขนาดนั้นเสมอไป เราอาจจะมีขึ้นๆ ลงๆ บ้างเป็นธรรมดา แต่เมื่อเขยิบออกมา ในภาพรวมขอให้เราต้องรักษาเส้นกราฟให้เป็นขาขึ้น (Upward moves) ให้ได้


  • Exploratory – ออกค้นหา

เป็นเหมือนการ ลองก่อนซื้อ (Try before you buy) ให้คุณลองก้าวออกจาก Comfort zone ไปลองทำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยยังไม่ต้องทุ่มเทแบบหมดหน้าตักขนาดนั้นก็ได้ เพราะเดี๋ยวจะเครียดหรือเกิดความเสียหายหนักเกินไป ให้เราลองแค่พื้นฐานและเรียนรู้โครงสร้างภาพรวมดูก่อนว่าเหมาะสมกับตัวเองรึเปล่า


  • Realignment – ปรับจูน

การจะเข้าใจภาพรวมได้ บางทีเราต้องเขยิบถอยออกมาซักก้าวบ้าง เพื่อสำรวจตัวเอง ทบทวน มองหาทางอื่นๆ ไม่ต่างจากรถยนต์ที่จะเร่งเครื่องทำความเร็วสูงสุด เราต้องผ่อนคันเร่งเป็นระยะๆ รถถึงจะค่อยๆ ทำความเร็วต่อเนื่องขึ้นไปได้


  • Relocation – ลงมือทำ!

ทดลองทำสิ่งใหม่ที่ไม่เคยทำ ที่ไม่เคยมั่นใจมาก่อน บางทีอาจพบกับโอกาสใหม่ที่ไม่เคยมองข้ามมาก่อน เราอาจต้องก้าวออกจาก Comfort zone ออฟฟิศเดิมที่ทำมา 10 ปี  เปลี่ยนสายไปทำอาชีพอื่น หรือตัดสินใจย้ายงานไปต่างประเทศ 

 

อย่างเช่น แทนที่จะกลัว AI ก็หาทางคุยกับมันให้รู้เรื่องไปซะเลยจนเกิดอาชีพใหม่ที่คนเริ่มทำกันในวงการเทคโนโลยีที่สหรัฐอเมริกา นั่นคือ “Prompt Engineer” ซึ่งจะทำหน้าที่ทำความเข้าใจระบบภาษาของ AI (เช่น ChatGPT) ค้นหาข้อบกพร่องและหาทางแก้ไข รวมถึงเขียนคำบรรยายเพื่อป้อนระบบให้แสดงผลลัพธ์แบบตรงจุดมากที่สุด

 

Mobility Mindset ดูจะเป็นหลักคิดที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นๆ จากคนทำงานในยุคนี้ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกระดับและเกิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นมาพร้อมโอกาสสายอาชีพใหม่ๆ อีกเพียบที่เราคาดไม่ถึง!

 

อ้างอิง : https://www.linkedin.com/pulse/mobility-mindset-opportunity-abound-bev-kaye

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...