วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

หัวหน้าที่ดี
ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเองนี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

เบื้องหลังความชื่นชอบเคารพนับถือ 

ต้องยอมรับความจริงว่า ลึกๆ ภายในแล้ว คนเรา “ไม่สามารถบอกใครให้มารักเราได้”  ความรัก-ความชื่นชอบ-ความเคารพนับถือล้วนเกิดจากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของเราที่ไปสร้างความ “พึงพอใจ” แก่อีกฝ่าย คุณลักษณะหนึ่งที่ทำให้คนชื่นชอบคือ การ “มองเห็นคุณค่า” ในตัวพวกเค้า หมั่นถามสารทุกข์สุขดิบ ยื่นโอกาสใหม่ๆ ให้ เอาใจเค้ามาใส่เรา

“มันยากที่จะไม่ชอบ…คนที่ชื่นชอบคุณ” คำนี้ใช้ได้จริงเสมอ แต่ขณะเดียวกัน ความเคารพนับถือไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป แต่ต้องคอยหมั่น “เติม” เชื้อเพลิงอยู่เสมอ และมันมีความ “เปราะบาง” เราอาจใช้เวลา 10 ปีในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแก่คนหนึ่ง แต่อาจใช้เวลาแค่ 10 วัน (หรือแม้แต่ 10 นาที) ในการทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจนั้นให้หายไปได้เช่นกัน นี้คือวิธีง่ายๆ สู่การเป็นหัวหน้าอันเป็นที่รัก

หัวหน้าที่ดี เป็นนักฟังที่ดี

หัวหน้าที่ลูกน้องชื่นชอบมักมีคาแรคเตอร์เป็น “ผู้ฟัง” ที่ดีมากกว่าผู้พูด พยายามเข้าอกเข้าใจคนอื่น ลูกน้องมีแต่อยากเข้าหา เพราะรู้ว่าปัญหาของเค้าจะถูกรับฟัง อย่างน้อยที่สุด หัวหน้าแบบนี้เป็น “ที่พึ่งทางใจ” ให้คนอื่นได้มาก การฟังยังเป็นการฝึกทักษะ Empathy อย่างหนึ่ง เพราะมันเป็นการพยายามทำความเข้าใจปัญหาของอีกฝ่าย และช่วยลดอีโก้ไปในตัว ปล่อยวางไม่เอาความคิดตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลนั่นเอง

มองเห็นคนอื่น

โดยเฉพาะเวลาประชุมที่สมาชิกทีมต้องมารวมกัน ให้ถามความคิดเห็นลูกน้องก่อน โดยเฉพาะเริ่มจาก “พนักงานที่อายุงานน้อยที่สุด” ก่อน และระหว่างนั้นให้หัวหน้าจดที่เค้าพูด เป็นการทำตรงกันข้าม ปกติหัวหน้ามักนำเสนอทางแก้ปัญหาและสรุปปิดทุกอย่าง เพราะเมื่อหัวหน้าพูดอะไรขึ้นมาก่อนแล้ว ลูกน้องอาจไม่กล้าเสนอเพราะอาจไปโต้แย้งไอเดียของหัวหน้าได้นั่นเอง เทคนิคหนึ่งคือการถามบ่อยๆ ว่า “มีปัญหาอะไรบ้างหรือเปล่า?” อย่างน้อยคนได้ยินก็รู้สึกว่ามีตัวตนถูกมองเห็นจากหัวหน้า

ไม่กลัวลูกน้องเก่งกว่า

สำหรับหัวหน้าที่ทุกคนรัก เมื่อเห็นแวว Talent รุ่นเยาว์บางคนที่มีศักยภาพไปได้ไกล จะส่งเสริมให้โอกาสและปั้นจนถึงที่สุด แม้สุดท้ายลูกน้องคนนั้น จะเก่งนำหน้าตัวเองหรือขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่ที่สูงกว่าในอนาคตก็ตาม เมื่อเรามาดูโลกปัจจุบัน จะเห็นว่าเด็กยุคใหม่มีแนวคิดบางอย่างที่ก้าวหน้าจนผู้ใหญ่ยังทึ่ง ส่วนหนึ่งเพราะมาจากเทคโนโลยีที่เปิดกว้างจนหาข้อมูลความรู้ใส่ตัวได้จากทุกที่และทุกเรื่อง…ลูกศิษย์ย่อมเก่งกว่าอาจารย์ ก็ใช้ได้ดีเช่นกับลูกน้อง-หัวหน้า

หัวหน้าที่ดี ต้องมีทัศนคติบวก

ใครๆ ก็อยากใช้ชีวิตคู่กับคนคิดบวกฉันใด ใครๆ ก็อยากทำงานกับหัวหน้าคิดบวก-มีทัศนคติด้านบวกฉันนั้น!! เพราะลูกน้องสัมผัสได้ถึงความเปิดกว้าง ความเป็นไปได้ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่สยบต่อปัญหาแต่เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน มองวิกฤติให้เป็นโอกาส หรือหาโอกาสทางรอดจากวิกฤตินั้น

ทัศนคติบวกยังสะท้อนมาถึง Mood & Tone ในการทำงาน คนคิดบวกมักมีออร่าพลังในการทำงาน ซึ่งคนรอบข้างสามารถสัมผัสได้ ส่งผลถึงความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบใหม่ๆ ขณะที่หัวหน้าคิดลบอารมณ์บูด บรรยากาศการทำงานมีแต่จะหม่นหมอง ทัศนคติด้านบวกไม่ใช่แค่กับปัญหาเนื้องาน แต่ยังรวมถึงสมาชิกในทีมด้วย หรือมี Growth Mindset นั่นเอง เชื่อว่าลูกน้องสามารถเติบโตขยายศักยภาพได้มากกว่าที่เป็นอยู่หากได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติม ลูกน้องก็อยากทำงานกับหัวหน้าที่เชื่อในตัวเค้า รู้ว่าตัวเองพัฒนาไปมากกว่าเดิมได้

เคารพทุกคนอย่างเท่าเทียม

ผู้นำที่ดีจะไม่นำเอาอายุความอาวุโสหรือตำแหน่งที่สูงกว่าของตนเองมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้คนอื่นเคารพนับถือตน แต่พวกเค้าจะทำเป็น “แบบอย่าง” (Lead by example) ที่ดีเองซะก่อน ให้คนอื่นเคารพผ่านการกระทำ…ไม่ใช่ผ่านวาจา(หรือบังคับ) Adam Grant ผู้เขียนหนังสือ Give and Take บอกว่า ผู้นำส่วนใหญ่ที่ทุกวันนี้ดูเหมือนทำอะไรก็มีแต่คนสนับสนุนไปเสียหมด เพราะก่อนหน้านี้พวกเค้าเคยเป็น “ผู้ให้อย่างแท้จริง” มาก่อน

หัวหน้าที่ดี ต้องบริหารงานในทีมเป็น

หัวหน้าที่ดีไม่จำเป็นต้องเก่งหรือฉลาดหลักแหลมที่สุด แต่ต้องเป็นคนที่บริหารจัดการงานในทีมเป็น ต้องจัดเรียงลำดับความสำคัญของงานได้ เพื่อทำให้ทีมบรรลุเป้าหมาย (จะว่าไปชื่อตำแหน่งก็บอกในตัวอยู่แล้วว่า “ผู้บริหาร”)

หัวหน้าที่ดีจะไม่ “โยนงาน” มั่วๆ ให้คนในทีม แต่จะรู้ว่าอันไหนคือ

  • งานด่วน แต่ ไม่สำคัญ / งานด่วน และ สำคัญ
  • งานไม่ด่วน แต่ สำคัญ / งานไม่ด่วน และ ไม่สำคัญ

นอกจากนี้ ต้องรู้ว่าลูกทีมเก่งถนัดอะไร ก่อนจะมอบงานที่ตรงกับสกิล (Put the man on the right job) และสามารถ “ดึงศักยภาพ” คนในทีมออกมาได้มากที่สุด

หัวหน้าที่ดี ชมคนให้เป็น

เมื่อลูกน้องทำดีหรือแม้แต่สร้างผลงานเล็กๆ น้อยๆ หัวหน้าที่ดีจะรู้จัก “พูดชม” อย่างเปิดเผยที่ออกมาจากใจ เพราะรู้ว่าเป็นการให้กำลังใจคนในทีมและเป็นสิ่งที่ควรได้รับ

“เมื่อใครทำดี…ก็ควรได้รับคำชม”

ผลวิจัยทางจิตวิทยามากมายเผยว่า พนักงานที่ได้รับคำชมโดยเฉพาะจากคนที่อยู่ตำแหน่งสูงกว่า แม้จะเป็นคำชมสั้นๆ อย่าง “ขอบคุณนะครับ / ทำได้ดีมาก / เยี่ยมมากนะเรา” ทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง มีไฟในการทำงาน และจงรักภักดีต่อบริษัทมากขึ้น   ลองประยุกต์เอาวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นไปใช้ เมื่อถึงเวลาเลิกงาน ลุกจากโต๊ะกำลังจะกลับบ้าน พนักงานคนอื่นที่พบเห็นเดินผ่านจะพูดทำนองว่า “ขอบคุณวันนี้ที่อุตส่าห์เหน็ดเหนื่อย”

ตำหนิอย่างมีชั้นเชิง

แต่การทำงานย่อมมีความผิดพลาด และหลีกเลี่ยงการตำหนิไปไม่ได้ แต่หัวหน้าที่ดีจะมีชั้นเชิงการตำหนิ โดยไม่พูดเหมารวมอย่าง “เรานี่มันไม่ได้เรื่องเลยจริงๆ” แต่จะ “ติเพื่อก่อ” เช่นคำว่า “ไม่สมกับเป็นคุณเลยนะ” / “ไม่เอาน่า แม้แต่คุณก็ยังทำไม่ได้เหรอ” การตำหนิลักษณะนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมได้มากกว่า

ให้เครดิตลูกทีม

เมื่องานออกมาประสบความสำเร็จ หัวหน้ามักคือคนแรกๆ ที่สปอตไลท์ส่องไฟลงมา และมุมมองจากคนนอกมักยกความดีความชอบทั้งหมดมายังหัวหน้าคนนี้จนเผลอมองข้ามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคนอื่นไป แต่หัวหน้าที่ดีจะรู้จักการให้ “เครดิต” ลูกทีมทุกคน ไม่เอาเรื่องดีๆ เข้าตัวคนเดียว เพราะรู้ว่าหากปราศจากลูกทีมแล้ว งานไม่มีทางสำเร็จแน่นอน

วิธีง่ายๆ เหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้ได้แทบจะทันที เชื่อเลยว่าลูกน้องจะรักคุณมากขึ้นอย่างออกหน้าออกตา!

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ และมีความสุขกับงานในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Disney
Disney ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่โลกจินตนาการที่มีอยู่จริง
Walt Disney มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 9.6 ล้านล้านบาทปี 2019 เคาะรายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาทมอบความบันเทิงและโลกจินตนาการแก่ผู้คนทั่วโลกทุกวันนี้เวลาเรานึกถึงดิสนีย์เรามักนึกถึง...
การตั้งชื่อ
Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ...
Burnout
สัญญาณ Burnout : ทำไมการ ‘พร้อมเพื่อทุกคน’ อาจทำร้ายคุณ?
ในยุคที่ทุกอย่างเป็น “Always on” หรือพร้อมทำงานตลอดเวลา อาการ Burnout กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มคนทำงานโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสำหรับคนที่มักจะ...