อยากทำงานบริษัท GQ เสื้อเชิร์ตขาวจากเชยรุ่นพ่อ สู่กางเกงในไข่เย็น(เจี๊ยบ)

ใครจะไปคิดว่า นวัตกรรมและสีสันการตลาดสุดจี๊ดจ๊าดจากแบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติไทย GQ จะเป็นปรากฎการณ์ใหม่ในช่วง 4-5 ปีมานี้เอง ในขณะที่แบรนด์มีอายุเก่าแก่นับ 40-50 ปีก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1969 โน่น!

จากแบรนด์ที่สำเร็จโด่งดังระดับนึงในยุค Baby boomer แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ถึงยุคขาลง จนเหล่า Gen Y หรือ Gen Z หลายคนไม่เคยได้ยินแม้แต่ชื่อแบรนด์! 

 

แต่แล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กรขนาดใหญ่ชนิดที่ทุกวันนี้ นอกจาก Baby boomer แล้ว Gen Y หรือ Gen Z (และเจนอื่นๆ) น้อยคนที่จะไม่เคยได้ยินชื่อแบรนด์ GQ นี้

 

เบื้องหลังความสำเร็จนี้ คือการเปลี่ยนโฉมการทำงานภายในองค์กรชนิดจากหน้ามือเป็นหลังมือ!

 

ได้เวลารุ่นลูกโชว์ฝีมือ

 

การเปลี่ยนแปลงจากภายนอกต้องมาจากการทำงานภายในองค์กรก่อน

 

จากธุรกิจครอบครัวเก่าแก่ GQ ยุคใหม่แบบที่เราเห็นกันจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากโครงสร้างบริหารภายในที่ส่งต่อให้รุ่นลูกเจนใหม่ขึ้นมาบริหารได้แบบเต็มที่ 

 

โดยสิ่งใหม่ๆ ในรอบไม่กี่ปีที่เราเห็นจาก GQ แทบจะมาจากมันสมองของ “คนรุ่นใหม่” ที่ได้รับโอกาสขึ้นมาบริหารได้แบบเต็มที่มากขึ้น 

 

“คุณวีรธีป ธนาภิสิทธิกุล” คือทายาท (และ Talent) ที่บริหารต่อจากรุ่นพ่อ เขาผสมผสานวัฒนธรรมการทำงานแบบฝรั่งที่เคยสัมผัสสมัยทำงานที่ New York ในวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อย่าง Goldman Sachs ก่อนผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยๆ เช่น 

 

  • ให้ฟีดแบคแบบตรงไปตรงมา แต่ก็มีความซอฟต์ไม่โผงผาง 
  • ลด Hiereachy ระดับขั้นการทำงาน แต่ก็ยังเคารพผู้ใหญ่อาวุโสที่อยู่มานาน 
  • นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานประจำวัน แต่ก็ไม่มองข้ามประสบการณ์พนักงานรุ่นใหญ่ที่มีอยู่เดิม 
  • หรือการเปิดรับคนทำงานรุ่นใหม่มาร่วมทีมกับรุ่นใหญ่ในออฟฟิศที่ทำมานาน

 

ระบบ Training มืออาชีพ

 

หลายคนที่เคยซื้อเสื้อผ้าของ GQ อาจตกใจว่าทำไมพนักงานขายหน้าร้านถึงดูโปรขนาดนี้! 

 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ GQ ทรีตท์พนักงานขายหน้าร้านให้อยู่ในสถานะ Product Consultant (PC) ที่ต้องสามารถแนะนำสินค้าและตอบคำถามลูกค้าได้คล่องปรื๋อ เพราะนี่คือ Physical touchpoint จุดที่ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่น่าจะสำคัญที่สุดแล้ว

 

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งงานเป็นทุนเดิม GQ จึงออกแบบ “ระบบ Training มืออาชีพ” ขึ้นมา พนักงานขายทุกคนต้องผ่านด่านการ Training อันเข้มข้นขององค์กรก่อนถึงจะไปประจำตำแหน่งหน้าร้านและเจอลูกค้าซึ่งๆ หน้าโดยตรง 

 

  • จากมือสมัครเล่น เมื่อเทรนจบออกไป…ต้องกลายเป็นมืออาชีพ!

 

อธิบายแบบง่ายๆ Training ถูกออกแบบให้ครอบคลุมทั้งเรื่อง ”Functional & Emotional” 

 

กล่าวคือ พนักงานขายของต้องรู้ลึกเรื่องสินค้าด้าน Functional เช่น โปรดักท์ไลน์แต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อลูกค้าเป้าหมายคนละกลุ่ม ความหลากหลายของเนื้อผ้าที่มีตั้งแต่ผ้าฝ้าย ผ้าคอตตอน ผ้าลินิน และต้องอัพสกิล Craftsmanship ระดับหนึ่ง เช่น เรียนรู้การตัดและสอยขากางเกงด้วยมือจนกว่าจะโปร

 

แต่ขณะเดียวกัน ต้องไม่ทิ้งเรื่อง Emotional เพราะเราขายสินค้าให้คนที่มีอารมณ์จิตใจ พนักงานขายจึงจะได้รับการปูพื้นฐานด้าน Branding ความเป็นมาของแบรนด์ วิธีสังเกตสิ่งที่ลูกค้าต้องการแต่ไม่ได้พูดออกมา หรือวิธีเทคแคร์ในแต่ละวัยที่มีคาแรคเตอร์แตกต่างกัน จนไปถึงติดตามคอนเทนต์ไวรัลหรือโฆษณาล่าสุดต่างๆ ของแบรนด์

 

เปิดใจคนได้เพราะแบรนด์เปิดกว้าง

 

นอกจากนี้ GQ ยังใส่ใจเรื่อง Inclusion & Diversity การมีส่วนร่วมและความหลากหลายทั้งทางเพศ เชื้อชาติ ถิ่นกำเนิด หรือรูปลักษณ์ร่างกาย 

 

อย่างเช่น ตำแหน่ง PC ที่ส่วนใหญ่จะมีภาพจำเป็นผู้หญิงเท่านั้น แต่แบรนด์ก็เปิดรับทุกเพศสภาพ ผู้ชายก็ได้หรือเพศทางเลือกไหนๆ ก็มาทำได้ทั้งนั้น เพราะวัดที่ความสามารถ

 

ผู้พิการหรือคนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย GQ ก็พร้อมรับเช่นกันถ้าคุณสมบัติผ่าน โดยได้ดีไซน์การทำงานแบบโหมด Accessibility ไว้ในระดับหนึ่งเพื่อรองรับพนักงานกลุ่มนี้เลยทีเดียว นัยหนึ่ง เพราะแบรนด์ต้องการส่งเสริมคุณค่าของคนกลุ่มนี้ให้สังคมรับรู้เช่นกัน

 

สวัสดิการสไตล์ GQ

 

นอกจาก GQ จะให้ค่าตอบแทนเงินเดือนตามมาตรฐานชนิดไม่น้อยหน้าใครแล้ว ยังมีสวัสดิการอื่นที่น่าสนใจไม่น้อย

 

อย่างเช่น ส่วนลดพิเศษสำหรับพนักงาน ลดสูงถึง 60% เมื่อซื้อสินค้าของ GQ ถือเป็นส่วนลดที่สูงกว่าแบรนด์คู่แข่งอื่นๆ บางเจ้าด้วยซ้ำ

 

ไหนจะวันลาคลอดเพื่อดูแลลูกน้อยโดยยังจ่ายเงิน สอดคล้องกับแนวคิดของสังคมยุคใหม่ที่แคร์ประเด็นนี้ และถ้าใครต้องการลาบวช หรือลาเพื่อไปดูแลบุตร GQ ก็พร้อมเปย์เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการจัดงานเลี้ยงรื่นเริงประจำปีเพื่อกระชับมิตรระหว่างทีม

 

นอกจากสวัสดิการแล้ว ไวรัลโฆษณาและเสียงฟีดแบคเชิงบวกล้นหลามในโลกโซเชียล ยังถูกใช้เป็น asset ในการ attract ดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ๆ ให้มาร่วมทีม

 

สู่บริษัทที่เก่าแต่ไม่แก่

 

รุ่นลูก Gen ใหม่ยังไม่ยึดติดกับธุรกิจครอบครัวเดิมๆ เพราะอาจติดกับดักอำนาจตัดสินใจและความเกรงอกเกรงใจที่ฝังรากลึกในหมู่พนักงานหลายภาคส่วน โดยได้เปิดรับผู้บริหารมืออาชีพจากข้างนอกมาพัฒนาองค์กร อย่างที่เราอาจเห็นในสื่ออยู่บ่อยๆ คุณ George Hartel ผู้บริหารชาวต่างชาติที่ดำรงตำแหน่ง Chief Commercial Officer (CCO)

 

ทุกวันนี้ GQ ไม่ใช่บริษัทโบราณอีกต่อไปแล้ว และไม่ได้บริหารแบบธุรกิจครอบครัวดั้งเดิมที่เถ้าแก่ผู้หลักผู้ใหญ่มีอำนาจสั่งการเด็ดขาด แต่มีความเป็นมืออาชีพและเป็นสากลขึ้นมากชนิด transform เป็นคนละบริษัทกันเลยทีเดียว 



อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...