เป้าหมายสำเร็จได้ หากลงมือทำให้ต่อเนื่อง

เป้าหมายสำเร็จได้
หลายต่อหลายครั้งที่เราวางเป้าหมายไว้อย่างดิบดีในช่วงปีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องสุขภาพ เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การเรียนทักษะใหม่เพิ่มเติม แต่พอถึงกลางปีก็เบื่อบ้าง ลืมบ้าง จนล้มเลิกไป

ในที่สุดก็ทำไม่สำเร็จตามที่ตั้งไว้ ต้องยกยอดไปเป็นเป้าหมายของปีถัดไปอีก หรือโยนทิ้งไปเลย อย่าเพิ่งโทษตัวเองว่าขี้เบื่อ ไม่อดทน ไม่เอาไหน เราอาจจะแค่ไม่รู้เทคนิคที่ช่วยให้สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ต่อเนื่อง

ทะดะอะกิ โคบะยะชิ เป็นหนึ่งในคนที่เคยประสบปัญหานี้มาก่อน แต่ปัจจุบันก็สามารถทำสิ่งที่ตั้งใจได้ต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว นั่นคือ การเขียนบทความลง weblog และแมกกาซีนออนไลน์ ซึ่งความสม่ำเสมอนี้เอง ทำให้ผู้ติดตามเกิดความไว้วางใจ น่าเชื่อถือจึงมีงานจ้างเข้ามาเรื่อย ๆ จนสามารถเปลี่ยนอาชีพจากมนุษย์เงินเดือนมาทำงานอิสระเต็มตัวได้ในที่สุด เขาจึงรวบรวม “เทคนิคทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ต่อเนื่อง” เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมให้กลายเป็นนิสัย ออกมาเขียนเป็นหนังสือให้ได้อ่านกัน

เริ่มแรก ต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ ว่าถ้าตั้งใจ เราสามารถทำได้จริง เช่น จะชนะเลิศการแข่งขัน จะเลิกบุหรี่ จากนั้นกำหนดวงจรการเกิดนิสัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ “เริ่มต้น” “ดำเนินการต่อ” และ “เลิก” แต่ละขั้นตอนมีเทคนิคดังนี้

1. เทคนิค “เริ่มต้น” ขยับสู่ขั้นตอนลงมือ

  • ที่เราไม่เริ่มลงมือสักที อาจเพราะกลัวจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างมาก จริง ๆ แล้วเราไม่จำเป็นต้องเลิกสิ่งที่ทำอยู่เดิมเพื่อเริ่มทำสิ่งใหม่เสมอไป เช่น งานประจำกับอาชีพใหม่
  • ลดขั้นตอนการเตรียมตัวให้เหลือน้อยที่สุด จัดของทุกอย่างให้หยิบฉวยง่าย เช่น การวิ่งตอนเช้า การทำอาหาร
  • ตั้งเกณฑ์มาตรฐานในการเริ่มต้น ถ้าถึงเกณฑ์ที่กำหนดแล้วก็ทำได้เลยไม่ต้องลังเลอีก
  • คิดถึงผลเสียของการไม่ลงมือทำ เช่น ต้องตื่นเช้าเพราะถ้ายังไปทำงานสาย อาจถูกไล่ออก
  • เลือกทำเฉพาะสิ่งที่คิดว่าสำคัญแล้วทำเต็มที่ ดีกว่าทำหลายอย่างแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
  • เริ่มต้นอย่างง่าย ๆ ก่อน อย่าให้บันไดขั้นแรกสูงเกินไป แบ่งงานใหญ่ให้เป็นงานย่อย
  • ใช้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ การ์ตูน หรือบุคคลสำคัญ หรือจะใช้แรงฮึดจากความอิจฉาริษยา ความแค้นที่โดนดูถูกก็ได้
  • แม้ยังไม่มีอารมณ์จะทำ แต่ถ้าฝืนทำไปสักนาที ก็อาจเครื่องติด ทำต่อไปได้เลย
  • ฝึกทำสมาธิ ฟังดนตรีที่เหมาะกับสิ่งที่อยากทำ ช่วยให้ลื่นไหล
  • จดวันเวลาที่จะทำ และเขียนขั้นตอนสิ่งที่ต้องทำลงในกระดาษ ไว้ในจุดที่เราเห็นบ่อย ๆ

2. เทคนิค “ดำเนินต่อ” สร้างกลไกไม่ให้ล้มเลิกกลางคัน

  • หาเหตุผลที่จะทำต่อ ยิ่งมีเหตุผลหลายข้อ ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้อยากทำต่อไป
  • สิ่งที่กำลังทำ แม้ยังไม่เชื่อมโยงโดยตรงกับเป้าหมายปัจจุบัน แต่ก็อาจได้นำมาใช้ในเรื่องที่คาดไม่ถึงในอนาคต ถ้าหากไม่ได้เตรียมการไว้ ก็เสียโอกาสไปได้ เช่น การเรียน Calligraphy ของ Steve Jobs ที่ได้นำมาใช้ในการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์
  • ขอกำลังใจจากคนใกล้ตัวที่มีจุดมุ่งหมายคล้ายกัน ช่วยเหลือกัน พยายามไปด้วยกัน
  • สำรวจตัวเองว่าความล้มเหลวที่ผ่านมา เรามักจะเลิกทำด้วยเหตุผลอะไร แล้วหาวิธีรับมือ
  • เมื่อท้อแท้หมดไฟ ให้นึกย้อนไปถึงความตั้งใจแรกเริ่ม
  • ถ้ารู้ว่าสิ่งที่ทำ มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อผู้อื่น จะช่วยให้มีแรงทำต่อไปได้เรื่อย ๆ
  • กำหนดเวลาและสภาพแวดล้อมให้เฉพาะเจาะจง ทำซ้ำบ่อย ๆ สมองจะจดจำว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำโดยอัตโนมัติ
  • แต่ถ้าเบื่อหน่ายก็เปลี่ยน วิธีการ เวลา สถานที่ ดูบ้าง ให้เกิดความสนุก แปลกใหม่
  • เชื่อมโยงสิ่งที่อยากทำเข้ากับกิจวัตรเดิมที่มีอยู่ ช่วยให้ไม่ลืมทำ
  • มุ่งความสนใจไปที่กิจกรรมก่อนและหลัง เช่น เอาเรื่องที่ไม่อยากทำแต่ต้องทำ ไปแทรกระหว่างเรื่องสนุก จะกดดันน้อยลง อยากรีบทำให้เสร็จเพราะมีเรื่องสนุกรออยู่
  • สร้างกลไกที่จะทำสิ่งนั้นได้โดยไม่ต้องพึ่งแรงจูงใจ เพราะคนเราไม่ได้มีแรงจูงใจทุกวัน

3. เทคนิค “เลิก” พฤติกรรมด้านลบที่ขัดขวางความสำเร็จ

  • อย่าเลิกแบบกะทันหัน ค่อย ๆ ปรับทีละนิด จะเป็นไปได้มากกว่า
  • มองหาปัญหาที่อาจซ่อนอยู่ แล้วแก้ที่ต้นเหตุ เช่น กินจุบจิบระหว่างมื้อ เพราะมื้อหลักไม่อิ่มก็ต้องกินแต่ละมื้อให้อิ่ม
  • คำนวณเวลาเผื่อไว้มากกว่าปกติ ช่วยลดการไปสาย การส่งงานไม่ทันตามกำหนด
  • เปลี่ยนสภาพแวดล้อม หรือนำสิ่งที่อยากเลิกนั้นออกจากสายตา/ระยะมือเอื้อมถึง
  • ของที่อยากซื้อ อย่าเพิ่งซื้อทันที ให้จดไว้ก่อน กลับมาไตร่ตรองอย่างมีสติ
  • หากอยากเลิกนิสัยใช้เงินเปลือง ให้พกเงินติดตัวเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตัวเองให้หาเรื่องสนุกที่ไม่ต้องเสียเงินทำแทน
  • การจะเลิกพฤติกรรมด้านลบซึ่งผูกติดกับความสุขเพลิดเพลินทำให้เลิกได้ยาก ให้ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจแทน โดยเติมเต็มความรู้สึกเต็มอิ่มด้วยวิธีอื่น เช่น อมลูกอมแทนการสูบบุหรี่ อ่านหนังสือแทนการเล่นเกม
  • เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ที่อยากทำ เพื่อให้ได้ลดสิ่งเก่าที่อยากเลิก
  • หยุดแก้ตัว เปลี่ยนแปลงคำพูดไปในเชิงบวก เช่น ฉันจะเลิกทำ คำพูดที่พูดบ่อย ๆ จะส่งผลต่อการกระทำเราด้วย

การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ต่อเนื่องจะสร้างพฤติกรรมให้กลายเป็นนิสัยได้ในที่สุด เมื่อรู้เทคนิคเหล่านี้แล้วขอให้เริ่มลงมือทำทันที เป็นกำลังใจให้เป้าหมายของทุกคนได้สำเร็จในปีนี้ ไม่ต้องยกยอดไปทำใหม่ปีหน้า

รีวิวหนังสือ เทคนิคทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ต่อเนื่อง

  • ผู้เขียน Tadaaki Kobayashi
  • ผู้แปล อนิษา เกมเผ่าพันธ์
  • สำนักพิมพ์ อมรินทร์ฮาวทู ในเครือบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ราคา 225 บาท

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...