จากสถิติของ Work Institute พนักงานในสหรัฐอเมริกามีอัตราการลาออกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 31.6% ซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดคือ ความไม่พอใจกับวัฒนธรรมองค์กร โดยในปัจจุบันปี 2024 การที่เราจะสร้าง “วัฒนธรรมองค์กรยุคดิจิทัล” ให้ตอบโจทย์ทั้งธุรกิจและพนักงานนั้นต้องพบเจอกับความยากลำบากมากกว่าเดิม เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพนักงานที่ต้องพบเจอ
มากไปกว่านั้น จากรายงาน PwC Global Culture Survey 2024 พบว่า 72% ของผู้บริหารระดับสูง มองว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนผลประกอบการ แต่กลับมีเพียง 16% ของพนักงาน ที่เห็นว่าวัฒนธรรมองค์กรในปัจจุบันช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้นงานวิจัยจาก Gallup แสดงให้เห็นว่า 85% ของพนักงานทั่วโลกไม่มีความผูกพันกับองค์กร (disengaged) ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพและผลผลิตขององค์กร
.
ส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ทำให้การสร้างวัฒนธรรมองค์กรไม่ง่ายในปัจจุบันคือ ค่านิยมองค์กร สิ่งอำนวยความสะดวก/สภาพแวดล้อมทางกายภาพของสถานที่ทำงาน และรวมไปถึง เพื่อนร่วมงาน แต่ถ้าเราทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ได้กระจ่างแล้วนั้น ก็ย่อมที่จะสามารถจัดการและวางแผนในการรับมือกับอนาคตได้อย่างแน่นอน
.
โดยจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
1. การทำงาน(เป็นทีม)จากที่บ้าน
การทำงานระยะไกลคนเดียวยังไม่ยากเท่าไร แต่การทำงานเป็นทีมนั้น โดยปกติเข้าออฟฟิศก็ยังมีประเด็นให้ต้องพัฒนาความร่วมมืออยู่ตลอด แต่การทำงานทางไกลนั้นยิ่งมีความท้าทายในการสร้างสัมพันธภาพและความเชื่อมโยงระหว่างพนักงาน และการทำงานกับทีมที่มีสมาชิกมากๆ ต้องการการจัดการและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ บริษัท Shopify ได้เริ่มโครงการ “Digital by Default” เพื่อส่งเสริมการทำงานระยะไกล โดยการให้พนักงานมีสิทธิ์ทำงานที่บ้านเป็นปกติ โดยไม่จำกัดจำนวนวันที่ทำงานที่สำนักงานและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และในปี 2023 ที่ผ่านมา ถึงแม้จะเริ่มกลับมาทำงานที่สำนักงาน แต่ก็ยังคงนโยบาย Remote First ไว้อยู่
.
2. ความหลากหลายทาง วัฒนธรรมองค์กรยุคดิจิทัล
บริษัทที่มีพนักงานที่มีวัฒนธรรมและชนชาติที่แตกต่างกันจึงมีความท้าทายในการสร้างวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน โดย Google Diversity Core เป็นโปรแกรมของ Google ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่สุดในโลก เนื่องจากมีพนักงานจากทั่วโลกที่มารวมตัวกัน ส่วนใหญ่ของบริษัทนี้มีนโยบายและโปรแกรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนความหลากหลาย ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนกลุ่มนักพัฒนาและองค์กรที่สนับสนุนการศึกษาและการสร้างเสริมทักษะให้แก่ทุกกลุ่มชนและมีการสร้าง Google Developer Groups (GDGs) หรือ ชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่กลุ่มต่างๆ ทั่วโลก ที่มุ่งเน้นการสร้างคอมมูนิตี้หรือสังคมที่แตกต่างและการแบ่งปันความรู้ทางเทคโนโลยีในระดับท้องถิ่นและสากล
.
3. ความต้องการความยืดหยุ่นและการปรับตัว
วัฒนธรรมที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถทำได้เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการปรับตัวยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่
Sprint Retrospective Meeting หรือการประชุมเพื่อวิเคราะห์การทำงานในรอบการพัฒนา (Sprint) ที่ผ่านมา เพื่อหาวิธีการปรับปรุงและป้องกันปัญหาในการทำงานในรอบต่อไป
Pair Programming การทำงานแบบมีคู่ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานแบบ Agile โดยการให้พนักงานสองคนทำงานร่วมกันในโครงการเดียวกัน ซึ่งช่วยเพิ่มความเข้าใจและความสามารถในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
Kanban Board การใช้กระดาน Kanban เพื่อแสดงงานที่กำลังทำอยู่ งานที่เสร็จสมบูรณ์ และงานที่กำลังรอดำเนินการ เพื่อให้ทุกคนในทีมเข้าใจและติดตามความก้าวหน้าของงานได้ง่ายขึ้น เวลาที่จะต้องปรับตัวตื่นตัวก็จะทำได้ดีขึ้นไปด้วย
.
4. การรักษาความสมดุลระหว่างทำงานและชีวิตส่วนตัว
ความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวมีความสำคัญต่อความพึงพอใจของพนักงาน ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ บริษัท Zappos ที่มีการจัดค่าย 3 วันที่เรียกว่า Culture Camp ให้พนักงานได้สมัครเข้าร่วมและออกจากสถานที่ทำงานเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความเชื่อมโยงระหว่างพนักงานเองโดยจะได้รับการฝึกอบรมและเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมขององค์กรอย่างเจาะลึก โดยหัวใจสำคัญของค่ายนี้คือการทำให้พนักงานรู้สึกว่าได้รับการใส่ใจดูแล เคารพซึ่งกันและกัน และทำงานอย่างมืออาชีพ
.
5. การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วส่งผลให้บริษัทต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง “วัฒนธรรมองค์กร” เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
Adobe Kickbox โปรแกรมที่แจกกล่องอุปกรณ์ให้แก่พนักงานทุกคนที่สนใจ ในกล่องนี้จะมีทรัพยากรและเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างและทดสอบไอเดียใหม่ๆ และสนับสนุนในการสร้างนวัตกรรมในองค์กร
Microsoft มีกิจกรรม One Week Hackathon ที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อให้พนักงานมีโอกาสในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาสิ่งใหม่ในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์
.
การสร้าง “วัฒนธรรมองค์กรยุคดิจิทัล” ต้องการการบริหารจัดการและความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถรับมือกับความท้าทายทั้งหมดเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างบรรยากาศที่เป็นประโยชน์แก่พนักงานและธุรกิจทั้งหมด ซึ่งต้องเริ่มจากการให้ความสำคัญจากผู้บริหารระดับสูง การลงมือปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์จากหน่วยงานต่าง ๆ และการให้ความร่วมมือจากพนักงานทุกคนในองค์กร เพราะวัฒนธรรมไม่ได้เกิดขึ้นจากคนกลุ่มเดียว แต่เป็นเรื่องของพนักงานทุกคนที่มาอยู่ร่วมกันในที่ที่เรียกว่าองค์กร
ตัวอย่างองค์กรในไทยที่ส่งเสริม “วัฒนธรรมองค์กรยุคดิจิทัล”
- SCG (บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด)
SCG เป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรไทยที่ให้ความสำคัญกับ วัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) โดยสนับสนุนพนักงานผ่านโปรแกรมพัฒนาทักษะ เช่น SCG Skills Marketplace ที่ให้พนักงานเลือกอบรมหรือพัฒนาทักษะใหม่ๆ ด้วยตัวเอง ทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและทักษะส่วนบุคคล - AIS (แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส)
AIS มีนโยบาย Flexible Working ที่ช่วยสร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวของพนักงาน เช่น การให้พนักงานทำงานแบบ Hybrid และการจัดโปรแกรมสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น “Mind Coaching Program” เพื่อสนับสนุนสุขภาพจิตของพนักงานในช่วงวิกฤต COVID-19 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน - LINE ประเทศไทย
LINE เป็นตัวอย่างบริษัทที่มี วัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น โดยพนักงานสามารถเลือกทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work Anywhere Policy) และส่งเสริมความหลากหลายด้วยการสนับสนุนกลุ่ม LGBTQIA+ ภายในองค์กร นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น “LINE HACK 2023” เพื่อกระตุ้นการพัฒนานวัตกรรม - ธนาคารกสิกรไทย (KBank)
KBank เป็นตัวอย่างองค์กรที่ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยส่งเสริม Agile Culture ในการทำงาน เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังมีโครงการ “Green DNA” ที่สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนให้กับพนักงาน - Bitkub Capital Group Holdings
ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนในไทย Bitkub มีนโยบายที่ส่งเสริม การพัฒนาทักษะดิจิทัล ของพนักงานผ่านคอร์สอบรมเกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโตเคอเรนซี พร้อมทั้งสนับสนุนการทำงานในรูปแบบ Remote First
ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work