ส่องสัญญาณที่บอกว่าคุณคือผู้โชคดีได้รับรางวัล “หัวหน้ายอดแย่”

หัวหน้ายอดแย่

ในทุกองค์กรไม่ว่าจะองค์กรไหนก็ตามล้วนมีการลงทุนกับการว่าจ้างคนทำงานที่อยู่ในระดับกลางไปจนถึงระดับสูง หรือที่เรียกสั้นๆ ง่ายๆ ว่า ตำแหน่งของ “หัวหน้า” 

การทำงานหรือการนำทีมของหัวหน้าคนใดก็ตามในองค์กร ล้วนส่งผลกระทบต่อผลงานและผลลัพธ์ที่องค์กรได้รับแบบโดยตรง การลงทุนในทรัพยากรส่วนนี้จึงเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสำคัญและควรที่จะถูกบริหารการลงทุนเป็นอย่างดี ถ้าหากหัวหน้าทำงานหรือทำตัวได้แย่ การลงทุนนี้ก็จะเป็นการลงทุนที่แย่ตามไปด้วย

อีกทั้งหัวหน้าที่ดีหรือไม่ดี ยังมีผลต่อการทำงานของพนักงานคนอื่นๆ ในองค์กรอย่างชัดเจน หากหัวหน้าไม่ดีก็อาจจะทำให้ลูกน้องหรือพนักงานไม่พัฒนา หรือท้ายที่สุดจบที่การลาออก หากทีมไหนก็คนลาออกเยอะๆ การที่จะถูกเดาว่าหัวหน้าทีมนั้นคุมทีมได้ไม่ค่อยดีก็ค่อนข้างมีผล

อะไรคือ “หัวหน้ายอดแย่” ?

การที่สมัครงานแล้วจะเจอหัวหน้าที่ดีสักคน เหมือนเป็นการเสี่ยงดวง หากแต่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่านี่แหละคือหัวหน้าที่ไม่ดี? ลองสังเกตสิ่งเหล่านี้ 

ถ้าหากหัวหน้าสื่อสารไม่รู้เรื่อง  ไม่เข้าใจลูกน้อง  ลำเอียง  เข้าถึงยาก  หรือชอบทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก  ถ้าเคยเจอแบบนี้ล่ะก็  ค่อนข้างมีความเป็นไปได้ว่าเรากำลังเผชิญกับ “หัวหน้ายอดแย่” อยู่

หัวหน้าที่ดีคือคนที่สามารถกระตุ้นและให้พลังคนในทีมที่จะเห็นเป้าหมายการทำงานร่วมกัน เปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน และหัวหน้าที่ดีควรที่จะมีความจริงใจ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมตัวเองได้เป็นอย่างดี

แต่การเป็นผู้นำที่ดี  ต้องอาศัยความสามารถ อาศัยทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการทำงานหรือ Soft Skills สำคัญ ซึ่งหัวหน้าที่แย่มักจะขาดทักษะทั้งสองแบบ และทำให้หลายครั้งหัวหน้าแบบนี้มักจะตัดสินใจพลาดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่สามารถเข้ากับคนอื่นได้ สำคัญที่สุดคือไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องตัวเองได้

สรุปง่ายๆ คือ  หัวหน้าที่แย่  สามารถทำลายทีมและสร้างบรรยากาศการทำงานแบบ Toxic ได้เลยทีเดียว

“หัวหน้ายอดแย่” ทำลายทีมได้อย่างไรบ้าง?

หัวหน้าแย่ สามารถสร้างผลลัพธ์ให้กับองค์กรและทีมได้อย่างรุนแรง ไม่ใช่แค่ทำให้ลูกน้องลาออกเงียบ หรือลาออกจริงเท่านั้น  ผลสำรวจพนักงานอเมริกันกว่า 3,000 คน  พบว่า 82%  พร้อมลาออกเพราะหัวหน้า

หากองค์กรเก็บหัวหน้ายอดแย่เอาไว้นานแค่ไหน ทีมกับองค์กรจะยิ่งเสียหายมากขึ้นเท่านั้น สิ่งเหล่านี้สามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากการที่ลูกน้องในทีมของหัวหน้านั้นไม่เติบโต และเลิกที่จะทุ่มเทกับงาน จนถึงขั้นทนไม่ไหวและยื่นใบลาออกไปเลย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบกับองค์กรโดยตรง การที่คนพร้อมใจกันลาออกมากๆ อาจจะทำให้องค์กรสามารถพัง และขาดคนทำงานไปได้

ส่วนคนที่ยังอยู่ก็จะขาดขวัญกำลังใจ ประสิทธิภาพการทำงานก็มีแนวโน้มที่จะลดลง เพราะฉะนั้นถ้าหากองค์กรต้องการดึงดูดพนักงานเก่งๆ ให้ทำงานไปนานๆ อย่าลืมให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการทำงานของหัวหน้าให้มากยิ่งขึ้น เพราะลดอัตราหัวหน้ายอดแย่ที่จะเกิดขึ้นในองค์กรลง

ส่อง 10 สัญญาณ นี่เรากำลังเจอหัวหน้ายอดแย่อยู่แน่ๆ

สัญญาณที่ 1: หัวหน้าไม่ไว้ใจลูกน้องของตัวเอง

“ความเชื่อใจ” คือสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ในการทำงานร่วมกันในทีม ถ้าหากหัวหน้าไม่เชื่อใจลูกน้องของตัวเองถึงแม้ว่าลูกน้องจะสามารถพิสูจน์ตัวเองและสร้างความน่าไว้วางใจได้ ก็อาจจะทำให้ลูกน้องขาดความมั่นใจและทำงานแบบลดประสิทธิภาพลงแบบไม่ทันตั้งตัว 

พนักงานส่วนใหญ่ที่รู้ว่าหัวหน้าเปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูก จะกล้าคิด กล้าทำ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างเต็มที่ หากแต่ว่าถ้าหัวหน้าเอาแต่จ้องจับผิด และไม่ยอมรับความคิดของลูกน้องพร้อมที่จะปัดตกความคิดอยู่ตลอด ก็จะเหมือนเป็นการปิดโอกาส และทำให้ลูกน้องหมดไฟในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว

สัญญาณที่ 2: จู้จี้จุกจิก หรือ Micromanage

ไม่มีใครชอบถูกบงการการทำงานทุกขั้นตอน  แม้กระทั่งรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ถ้าหากหัวหน้ากำลังทำสิ่งนี้อยู่ นี่แหละคือสิ่งที่สามารถตัดอิสระและการเติบโตของลูกน้องได้อย่างมากเลยทีเดียว

ส่วนใหญ่แล้ว ความจู้จี้มักจะเกิดจากความไม่ไว้ใจในตัวหัวหน้าที่มีต่อลูกน้องของตัวเอง เลยทำให้กลายเป็นหัวหน้าที่ลงมาส่องการกระทำทุกๆ อย่างของลูกน้องและเกิดนิสัยบงการเกิดขึ้น

ซึ่งจริงๆ แล้ว มันควรจะต้องมีสมดุลในการดูแลลูกน้องของตัวเอง ควรจะให้การฝึกฝนและให้คำแนะนำอย่างถูกจุด และปล่อยให้ลูกน้องได้ทำงานอย่างมีอิสระ และสามารถใส่ความคิดเห็นและความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองได้อย่างเต็มที่ หัวหน้าควรรู้ว่าเวลาไหนที่ควรเข้าไปโค้ชหรือเวลาไหนที่ควรปล่อยให้ลูกน้องได้ทำงานด้วยตัวเอง

สัญญาณที่ 3: มองโลกในแง่ร้ายไปทุกอย่าง

ไม่มีใครชอบอยู่ใกล้คนที่เอาแต่มองโลกในแง่ร้าย หัวหน้าที่ดีควรจะมองความจริงและเห็นปัญหา พร้อมกับสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างชาญฉลาด หากแต่ว่าหัวหน้ายอดแย่หลายคนจะมองสิ่งต่างๆ รอบตัวในแง่ร้ายและตั้งแง่ไปเสียทุกอย่าง การจมปลักเหล่านี้จะทำให้พลังบวกหายไปและลูกน้องก็จะเสียกำลังใจในการทำงานเอาอย่างมากอีกด้วย

เพราะไม่ว่าลูกน้องจะทำงานอย่างไร หัวหน้าที่เอาแต่มองโลกในแง่ร้ายก็จะรอที่จะติอย่างเดียว หัวหน้าแบบนี้มักจะไม่ให้คำชมกับลูกน้องง่ายๆ และมองว่าลูกน้องตัวเองไม่ดีพออยู่ตลอดเวลา

สัญญาณที่ 4: ชอบหนีปัญหา

สัญญาณอันตรายมากๆ ของหัวหน้า Toxic คือการเลือกที่จะหนีปัญหาหรือโยนปัญหาให้ลูกน้องตัวเองแก้ไขกันเองอยู่ตลอดเวลา หัวหน้าแบบนี้ไม่แสดงความโปร่งใสและไม่แสดงความรับผิดชอบในการทำงานอย่างยิ่ง

การกระทำเหล่านี้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Toxic ให้กับทีมได้อย่างง่ายดาย และยังสร้างความรู้สึกไม่มั่นคงให้กับลูกน้องได้มากอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงนิสัยนี้ในระดับบุคคลนั้นยาก แต่อาจจะแก้ได้ด้วยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความรับผิดชอบ เช่น การจดบรรทึกเวลาทำงานของหัวหน้า หรือใช้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้เห็นว่าใครต้องปรับปรุงอะไรในตัวเองบ้าง

สัญญาณที่ 5: ขาดความเห็นอกเห็นใจ

ความเข้าใจหัวอกลูกน้อง  คือหัวใจสำคัญของการเป็นหัวหน้าที่ดี “ความเห็นอกเห็นใจ” เป็นส่วนหนึ่งของ EQ ที่หัวหน้าทุกคนควรมี  เพราะพนักงานส่วนใหญ่อยากรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า แต่หัวหน้าที่ไร้หัวใจจะทำลายกำลังใจและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกน้อง

หากอยากเข้าถึงลูกน้องให้ได้ ควรเริ่มจากความใส่ใจในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การถามความคิดเห็นและรับฟังความต้องการของลูกน้อง พร้อมกับให้ความช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส หรือแม้แต่การมีอารมณ์ขัน การเปิดตัวเองให้เขาถึงง่าย พูดคุยหยอกล้อ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถช่วยได้

สัญญาณที่ 6: ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้

หัวหน้าส่วนใหญ่อยากให้ลูกน้องได้แสดงศักยภาพออกมาอย่างสุงสุด ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องดี  แต่ทุกคนล้วนมีขีดจำกัด ถ้าหัวหน้าตั้งความคาดหวังและกดดันมากเกินไป อาจจะทำให้ลูกน้องทำงานหนักเกินกำลังและสุดท้ายพวกเขาก็จะหมดไฟ

ปัจจุบัน  พนักงานกว่า 43%  มีอาการ Burnout ซึ่งแน่นอนว่า ซึ่งอาการนี้จะทำให้การทำงานของพนักงานออกมาได้ไม่เต็มที่และประสิทธิภาพลดลง นอกจากนี้พนักงานเหล่านี้มักจะลาออกในท้ายที่สุด

สัญญาณที่ 7: มีโลกส่วนตัวสูงไม่มีส่วนร่วมกับทีม

หัวหน้าเหล่านี้มักจะตัดขาดกับโลกภายนอก ไม่พูดไม่คุยกับลูกน้อง ซึ่งนิสัยแบบนี้มักจะทำให้หัวหน้านำทีมไม่รอด เพราะว่าไม่รู้จักลูกน้องมากพอ ไม่รู้ปัญหาเพราะไม่เคยสุงสิงกับใคร

ซึ่งจริงๆ นิสัยเหล่านี้แก้ง่ายมาก ด้วยการเปิดใจมากยิ่งขึ้น และเข้าหาลูกน้องหรือคนรอบตัว เพื่อพูดคุยและให้คำปรึกษามากยิ่งขึ้น

สัญญาณที่ 8: กลัวการเปลี่ยนแปลง

หัวหน้าที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม จะเป็นเหมือนคนที่เอาแต่ย่ำอยู่ที่เดิมไม่มีการพัฒนาตัวเอง การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้บนโลกใบนี้ และบ่อยครั้งที่การเปลี่ยนแปลงมักจะมาแบบที่ไม่ได้ตั้งตัว 

หัวหน้าที่ดีควรเปลี่ยนมุมมองและความคิดของตัวเอง โดยการมองอุปสรรคหรือการเปลี่ยนแปลงให้เป็นโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

สัญญาณที่ 9: ไม่รับฟังใคร

ไม่มีใครอยากตามหัวหน้าที่เอาแต่ใจและชอบขัดจังหวะ การแสดงถึงการไม่ฟังและไม่สนใจลูกน้องนั้นดูออกง่ายมากๆ และทำให้ลูกน้องไม่สบายใจได้อย่างรวดเร็ว

การเป็นหัวหน้าที่ดี ควรฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ ไม่ใช่แค่เราพูดให้คนฟังอย่างเดียวแต่การฟังและทำความเข้าใจก็ควรเกิดขึ้นในตัวหัวหน้าด้วยเหมือนกัน อย่าลืมที่จะมีปฏิกิริยาตอตบสนอง อาจจะลองถามคำถามปลายเปิดหลังจากฟัง และสรุปสิ่งที่ลูกน้องพูดทุกครั้ง เพื่อแสดงออกว่าเราเข้าใจจริงๆ

สัญญาณที่ 10: ไร้ทิศทางการนำทีม

หัวหน้าที่ไม่ชี้แจงทิศทางการทำงาน สามารถสร้างความหงุดหงิดใจให้กับลูกน้องได้ เพราะว่าลูกน้องจะไม่รู้ว่าควรจะต้องทำอย่างไร ทำอะไร และสร้างสรรค์งานออกมาแบบไหน

การสื่อสารที่คลุมเครือหรือกำกวม จะทำให้ทีมทำงานออกมาไม่ประสานกันและไปในคนละทิศทาง หัวหน้าที่ดีต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และสามารถมอบหมายงานได้อย่างชัดเจน รวมถึงยังต้องสามารถวางแผนการทำงานออกมาได้อย่างเหมาะสม

การเป็นหัวหน้าที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้  หากเราพบว่าตัวเองหรือหัวหน้ามีสัญญาณเหล่านี้  อย่าเพิ่งหมดหวัง  การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากการยอมรับและเรียนรู้  เริ่มต้นจากการฟังลูกน้องให้มากขึ้น เปิดใจรับฟังความคิดเห็น  และพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง  องค์กรที่เต็มไปด้วยผู้นำที่ยอดเยี่ยม  คือองค์กรที่พร้อมจะเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

อ้างอิง:

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

485269346_860228042903767_2339769238726870150_n
5 เทคนิคบริหารเวลา ผัดวันประกันพรุ่งยังไงให้งานเสร็จไวกว่าเดิม จากหนังสือ Procrastinate on Purpose
ในโลกที่ใครต่างก็ยุ่งกันตลอดเวลา Rory Vaden ผู้ที่เป็น Management Consultant ในบริษัทชื่อดังจะมาเล่าถึง “เทคนิคบริหารเวลา” ที่ต่างไปจากเดิมที่เราเคยรู้จัก...
484838256_934775458839431_267575936095783296_n
5 สิ่งที่ต้องเลิกทำ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นในแบบ Stoic โดย Ryan Holiday
แนวคิดแบบสโตอิก (Stoicism) เป็นปรัชญาที่ช่วยให้เรารับมือกับความทุกข์และความกังวลในชีวิตได้อย่างสงบ โดย Ryan Holiday หนึ่งในนักเขียนที่ศึกษาและเผยแพร่ปรัชญาสโตอิก...
484799798_936425878674389_5210711178345275571_n
วิธีคิดที่จะทำให้คุณเก่งขึ้นแบบก้าวกระโดดด้วย Mental Models โดย James Clear ผู้เขียนหนังสือ Atomic Habits
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและข้อมูลมากมาย ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและรอบด้านเป็นทักษะที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น หนึ่งในแนวคิดที่สามารถช่วยพัฒนาแนวทางการคิดของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ...