HR ต้องรู้! กลยุทธ์การใช้ Soft Power สร้างวัฒนธรรมองค์กร

Soft Power สร้างวัฒนธรรมองค์กร

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราเห็นบริษัทชั้นนำอย่าง Google และบริษัทในอเมริกาในอีกหลายแห่งที่ออกแบบสวัสดิการและตกแต่งสถานที่ทำงานราวกับเป็นสถานที่พักผ่อน มีบาร์เครื่องดื่มและโต๊ะปิงปองไว้ทุกมุม พนักงานสามารถใช้บริการนวดฟรี ฟิตเนส และช่วงบ่ายวันศุกร์มีกิจกรรมสนุกสนานเชื่อมสัมพันธ์

สวัสดิการเหล่านี้ได้รับการชื่นชมอย่างมากจากหลายบริษัทในไทย และได้รับเครดิตและรางวัลองค์กรที่น่าทำงานด้วย พนักงานและผู้สมัครก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรนั้นน่าดึงดูดและสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้กับพนักงาน เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และส่งผลกระทบต่อพนักงานและองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างไร

ก่อนจะเข้าใจว่า “Soft Power สร้างวัฒนธรรมองค์กร” ได้อย่างไร? เรามาทำความเข้าใจคำว่า Soft Power กันก่อน

Soft Power คืออะไร ?

Power คือ ความสามารถที่จะสร้างผลกระทบต่อผู้อื่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ คืออิทธิผลหรืออำนาจที่สามารถทำได้โดยการบังคับ การจ่ายเงิน หรือการดึงดูดและการโน้มน้าวใจ พลังในการเปลี่ยนแปลงสังคมหรือองค์กรมี 2 รูปแบบ

Hard Power พลังอันแข็งแกร่งที่มีคำสั่ง การบังคับ และบทลงโทษสามารถให้ผลลัพธ์เชิงลบได้

Soft Power คือ ความสามารถในการได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการจากการดึงดูดแทนการบังคับหรือการจ่ายเงินซื้อมา ซึ่งเป็นวาทกรรมทางการเมืองในยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ที่มีรากฐานมาจากการทูตระหว่างประเทศ โดยโจเซฟ ไนย์ บุคคลแรก ๆ ที่เป็นริเริ่มแนวคิดเรื่อง “Soft Power” ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นเมื่อปี 1990 เรื่อง Bound to Lead: The Changing Nature of American Power ที่สามารถเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ เกิดจากบุคคลที่มีชื่อเสียง อาหาร วัฒนธรรม ศิลปะ สื่อ และความบันเทิง ในรูปแบบวรรณกรรม ละคร ภาพยนตร์ ดนตรี การแสดง ความสนใจของสื่อ และมีการผลักดันประเด็นทางสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดความสนใจของมวลชนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้

Soft Power กับงาน HR

ในมุมมองของ HR Soft Power เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยปรับปรุงการทำงานในหลายด้าน เช่น:

1. การสรรหาบุคลากร (Talent Acquisition)

Soft Power กับงาน HR มีบทบาทสำคัญและอยู่ในงานหลายส่วนมากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นเมื่อเวลาที่บริษัทต้องการสรรหาผู้มีความสามารถระดับสูง การใช้ศาสตร์และศิลป์แบบ “นุ่มนวล” ที่ดึงดูดใจ แทนที่จะบีบบังคับให้คนเก่ง ๆ มาทำงานด้วย นี่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในการใช้ Soft Power ในองค์กร ในโลกธุรกิจก็คือการสร้างความสัมพันธ์ ความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ

2. การสร้างแรงบันดาลใจในที่ทำงาน

ด้วยแนวทางนี้ บริษัทหรือหัวหน้างานสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้สมัครและพนักงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ (เช่น ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติสูงขึ้นที่อยากร่วมงานกับองค์กร พนักงานส่งมอบงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น) ดังนั้น หากบริษัทต่างๆ และเหล่าหัวหน้างานสามารถใช้ soft power ได้ดี ก็จะสามารถมีอีกหนึ่งวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ผ่านการดึงดูดและสร้างผลกระทบในระดับตัวบุคคลของพนักงานมากขึ้นได้

.

บทบาทของ HR ดั้งเดิมที่ถูกมองว่าเป็นผู้คุมกฎ บันทึกเวลาทำงาน หักเงิน และลงโทษ บทบาทเหล่านี้ก็กำลังเปลี่ยนไปให้ HR หันมาเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจและศักยภาพเพื่อขับเคลื่อนผลงานให้กับองค์กรมากขึ้น เป็นการสร้างสมดุลระหว่าง Hard Power และ Soft Power เปลี่ยนให้ HR กลายเป็นตำแหน่งงานที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์อย่างมากต่อการกำหนดทิศทางของบริษัทและการดึงดูดคนเก่ง ๆ ให้เข้ามาร่วมงานด้วย

กลยุทธ์ Soft Power ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

1. การปรับโครงสร้างองค์กร

เมื่อองค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตาม การใช้ Soft Power มีบทบาทสำคัญมากที่จะทำให้พนักงานและผู้บริหารคนสำคัญ หรือแม้กระทั่งบอร์ดบริหารเห็นด้วยและยอมเปลี่ยนแปลงอย่างนุ่มนวล ชักชวนไม่ใช่บังคับ แต่ด้วยการแสดงให้เห็นข้อดีของกลยุทธ์ใหม่ และสร้างให้เกิดการอยากทำตามด้วยตัวเอง เมื่อพนักงานเชื่อมั่นในความเป็นผู้นำและเชื่อในวิสัยทัศน์ ก็มีแนวโน้มที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้วยความเต็มใจ

2. การแก้ไขข้อขัดแย้งให้บรรลุเป้าหมาย

ในโลกธุรกิจและการทำงาน ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และในหลายครั้ง การมีความขัดแย้งบ้างถือเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ ดังนั้นการใช้ Soft Power ในการไกล่เกลี่ยและแก้ไขข้อขัดแย้งสามารถส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่กลมเกลียวกันและมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายเดียวกันของบริษัทได้

3. การสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กร

ความผูกพันในองค์กร มีความสัมพันธ์กับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานเป็นปัจจัยสำคัญ Soft Power จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดี การทำงานร่วมกันที่สนุกสนาน และมีแรงบันดาลใจได้

.

6 ทักษะที่ HR ต้องมีในการใช้ Soft Power

การจะทำสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ให้สำเร็จ จำเป็นต้องมีทักษะและศิลปะในการโน้มน้าวใจคน ดังนี้

1. ทักษะการสร้างความสัมพันธ์

ในการสร้าง Soft Power ความสัมพันธ์เป็นพื้นฐานที่สำคัญทั้งภายในและภายนอกองค์กร หากเรามองกรณีของศิลปินเกาหลีเป็นตัวอย่าง จะเห็นว่ากลุ่มนี้มีแฟนคลับที่ต้องหมั่นสร้างความสัมพันธ์ ขยันไลฟ์สดพูดคุยตอบคำถามอย่างใกล้ชิดและจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีชื่อเรียกกันและกันที่ต่างจากคนทั่วไปเพื่อแสดงถึงความเป็นกลุ่มเดียวกัน ในองค์กรก็เช่นกันและไม่ใช่แค่เพียงภายในองค์กรเท่านั้น ยังรวมถึงการสร้างแบรนด์นายจ้างและการสื่อสารไปยังบุคคลภายนอกอีกด้วย

2. ทักษะการเป็นผู้นำโดยทำเป็นตัวอย่าง

Soft Power จำเป็นต้องมีผู้นำ มีผู้เริ่มต้นแนวคิดหรือการกระทำ ซึ่งมักเริ่มต้นจากผู้บริหารด้านบน เป็นตัวอย่างให้กับองค์กรโดยปฏิบัติตามค่านิยมและวัฒนธรรมที่ต้องการปลูกฝัง บริษัทที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว หรือมีซีอีโอที่เป็นที่รู้จัก เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการสร้าง Soft Power ในรูปแบบนี้ในบริบทขององค์กร ธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมมักจะเลียนแบบคนรอบข้างเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ดังนั้นการปลูกฝังสภาพแวดล้อมเชิงบวกที่มีประสิทธิผลจะทำให้พนักงานมีความสุขและส่งมอบผลงานได้ดีขึ้น

3. ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

ทั้ง HR หัวหน้างาน และผู้บริหารระดับสูงยังต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี ไม่ว่าจะใช้ถ่ายทอดแนวคิดที่ซับซ้อนไปยังพนักงานระดับต่าง ๆ หรือการสื่อสารวิสัยทัศน์ต่อภายนอกองค์กร คุณลักษณะต่างๆ เช่น ความเห็นอกเห็นใจและการเยียวยา ล้วนเป็นคุณลักษณะที่ผู้ที่ต้องการสร้าง Soft Power จำเป็นต้องมี จะไม่มีผิดมีถูก หรือ “ใช่” หรือ “ไม่” แต่กลับกันผู้นำแบบ Soft Power มักจะ “บอกเพิ่มเติม” โดยไม่ทำให้ใครรู้สึกถูกดูถูกเยาะเย้ยหรือเหยียดหยามแบบการใช้ Hard Power ปรับปรุงนโยบายที่เต็มไปด้วยคำสั่งที่เข้มงวดและคำสั่งจากบนลงล่างในที่ทำงานให้พนักงานมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น

4. ทักษะการใช้ข้อมูลเชิงลึก

Soft Power มีเบื้องหลังด้วยการใช้ข้อเท็จจริงและตัวเลข เพื่อสนับสนุนและวางแผนให้เกิดการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดในการสร้างผลกระทบบ ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับผู้สมัครงานหรือข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพนักงานในการโน้มน้าวดึงดูดใจ หากไม่มีข้อมูลประกอบการโน้มน้าวที่ดีพอ โอกาสที่จะไปผิดทางก็จะเพิ่มมากขึ้น

5. ทักษะการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ

หลายองค์กรไปไม่ถึงเป้าหมายก็เพราะพนักงานไม่ไว้ใจผู้บริหารที่พูดแต่ไม่ทำจริงหรือทำไม่สม่ำเสมอนั่นเอง ดังนั้น ความสม่ำเสมอ เป็นหัวใจหลักของการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ ผู้นำหรือ HR ที่มีความสม่ำเสมอในสิ่งที่พูดและทำ ย่อมได้รับความไว้วางใจ ทำให้พนักงานเกิดความมั่นใจและมั่นคง ดังนั้น ไม่ว่าจะสื่อสารนโยบายใหม่ หรือการให้ความสำคัญกับพนักงานก็ย่อมต้องมีความสม่ำเสมอ และ align กันในทุกระบบและนโยบาย เพื่อให้พนักงานไว้วางใจ

6. ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จะทำให้เกิด Soft Power ที่น่าสนใจและทรงพลัง ซึ่งส่วนมากจะเกิดจากรูปแบบกิจกรรมและการสื่อสาร หลายองค์กรสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้ดี เพราะมีเทคนิคการทำสื่อที่น่าสนใจ น่าดึงดูด คนอยากทำตามมากกว่าที่แปะประกาศให้คนอ่านผ่านๆ ไปเท่านั้น แต่มีการคิดแคมเปญร่วมสนุก มีการอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับพฤติกรรมต้นแบบที่อยากให้คนทำตาม มีการให้รางวัลกับคนที่ปฏิบัติตามอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น

Soft Power สามารถนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์เพื่อความอยู่ดีมีสุขในระยะยาวของพนักงานในองค์กร คำพูดหรือการกระทำของคนดังหรือผู้นำที่มีอิทธิพล สามารถสร้างแรงกระเพื่อมในคุณค่าทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และมนุษย์ได้ หรือแม้แต่ผลกระทบในวงกว้างก็ยังสามารถทำได้ เช่น การอภิปรายในประเด็นที่มีความอ่อนไหวทางสังคม เช่น เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม หรือกระบวนการทางกฎหมาย Soft Power ยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างงาน ขยายธุรกิจ และดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศด้วยการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ องค์กรก็เช่นกัน

สรุป: Soft Power สร้างวัฒนธรรมองค์กร ได้อย่างไร?

Soft Power ไม่ใช่แค่เครื่องมือในการโน้มน้าวใจ แต่ยังเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้องค์กรสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับพนักงานและสร้างผลลัพธ์ในระยะยาว ด้วยการนำ Soft Power มาใช้ในงาน HR องค์กรสามารถสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง ดึงดูดคนเก่ง และเสริมสร้างความผูกพันในทีมได้อย่างยั่งยืน

ดังนั้น หากองค์กรต้องการประสบความสำเร็จในยุคที่คนเป็นหัวใจสำคัญ Soft Power คือเครื่องมือที่ขาดไม่ได้!

อ้างอิง : Khon At Work

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Disney
Disney ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่โลกจินตนาการที่มีอยู่จริง
Walt Disney มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 9.6 ล้านล้านบาทปี 2019 เคาะรายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาทมอบความบันเทิงและโลกจินตนาการแก่ผู้คนทั่วโลกทุกวันนี้เวลาเรานึกถึงดิสนีย์เรามักนึกถึง...
การตั้งชื่อ
Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ...
Burnout
สัญญาณ Burnout : ทำไมการ ‘พร้อมเพื่อทุกคน’ อาจทำร้ายคุณ?
ในยุคที่ทุกอย่างเป็น “Always on” หรือพร้อมทำงานตลอดเวลา อาการ Burnout กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มคนทำงานโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสำหรับคนที่มักจะ...