หัวหน้า 6 ประเภทที่ลูกน้องเข้าขั้นเกลียด

หัวหน้า
ณ จุดหนึ่งของชีวิตการทำงาน เราล้วนต้องเจอกับหัวหน้าที่มีข้อบกพร่อง และเรามักบอกตัวเองว่า อนาคตเราจะไม่มีวันเป็นหัวหน้าแบบนั้นแน่นอน อย่างไรก็ตาม หัวหน้าที่แย่กลับถูกพบเจอได้เกลื่อนกลาดในที่ทำงาน 

ผลสำรวจหนึ่งที่จัดทำขึ้นโดย Barna Group (ร่วมกับ Leadercast) เผยว่า 40% ของพนักงานชาวอเมริกันคิดว่าตัวเองกำลังทำงานให้กับ”หัวหน้า”ที่เข้าขั้น “แย่”

ซึ่งนำไปสู่คำถามที่น่าขบคิดต่อว่า “หัวหน้าที่แย่” นั้นเป็นอย่างไร?

(และถ้าคุณเป็นหัวหน้า จะหลีกเลี่ยงยังไงได้บ้าง?)

1. The Buddy – หัวหน้า ที่ทำตัวเหมือนเป็นเพื่อนสนิท

หัวหน้าประเภทนี้อยากจะเป็นเพื่อนกับทุกคน แม้ความเฟรนลี่จะเป็นเรื่องน่าอภิรมย์ แต่ The Buddy มักสุดโต่งเกินไป จนสูญเสียความเคารพนับถือจากเหล่าลูกน้องในที่สุด

The Buddy มักเกิดกับ “หัวหน้ามือใหม่” ที่พึ่งเคยถูกโปรโมทขึ้นระดับนี้เป็นอย่างครั้งแรก โดยมีอดีตเพื่อนร่วมงานกลายสภาพเป็นลูกน้องในสังกัด (อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุม) นั่นเอง

หลีกเลี่ยงการเป็น The Buddy ยังไง ?

เหล่าหัวหน้าต้องเข้าใจว่า “ระยะห่าง” เป็นสิ่งจำเป็นในการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มควรเรียกทุกคนมาพูดคุยและขีด “เส้นแบ่ง” ความสัมพันธ์ให้ชัดเจนแต่เนิ่นๆ

2. The People Pleaser – หัวหน้าที่ต้องการเป็นที่รักของทุกคน

คืออยากเป็นที่รักและพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทุกวิถีทาง ซึ่งนำไปสู่การไม่สามารถ “ปฏิเสธ” (Say No) ใครได้เลย หรือไม่สามารถตัดสินใจอะไรยากๆ ที่กระทบผู้อื่นได้เลย

หลีกเลี่ยงการเป็น The People Pleaser ยังไง ?

ให้นำผลประโยชน์ส่วนรวมของทีมเป็นที่ตั้ง ระลึกเสมอว่าการ “Say No” ไม่ใช่จุดจบของโลก อันที่จริง หัวหน้ามักได้รับความเคารพนับถือเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าตัดสินใจอะไรยากๆ ที่สุดท้ายย้อนมาส่งผลดีต่อกลุ่มโดยรวม

3. The Dictator – หัวหน้าจอมเผด็จการ

หัวหน้าประเภทนี้มักขู่คุกคามลูกน้องให้ทำในสิ่งที่ตนต้องการ และชอบบริหารจุกจิกในทุกเรื่อง (Micromanage) คนนอกอาจมองว่าอย่างน้อย The Dictator ก็ทำงานให้เสร็จได้ แต่เชื่อเถอะ หัวหน้าสไตล์นี้ไม่เวิร์คในระยะยาวแน่นอน 

หลีกเลี่ยงการเป็น The Dictator ยังไง ?

หัวหน้าที่ดีจะไม่บงการ “บังคับ” ลูกน้องให้ทำในสิ่งที่ต้องการ ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ความกดดันและการออกคำสั่งอันเข้มงวดที่ถาโถมใส่ลูกน้อง ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการให้ความร่วมมือ แถม “ซื้อใจ” ไม่ได้ด้วย

4. The Sleeper – หัวหน้าที่ทำตัวเฉยชา

หัวหน้าประเภทนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่สถานการณ์บริษัทเป็นไปด้วยดีอย่างต่อเนื่องจน “เคยชิน”

จนเมื่อปัญหาเกิดขึ้น The Sleeper จะรู้สึกกลัวการทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง ซึ่งบางครั้งนำไปสู่การไม่ตัดสินใจหรือลงมือทำ

หัวหน้าประเภทนี้ยังมีทัศนคติทำนองว่า “ถ้ามันยังไม่เสีย…แล้วจะซ่อมทำไม?”
(ถ้าปัญหายังไม่เกิด แล้วจะหาทางแก้ไขเตรียมไว้ทำไม?)

หลีกเลี่ยงการเป็น The Sleeper ยังไง ?

หน้าที่ของหัวหน้าคือการเป็น “ผู้นำ” ให้แก่ผู้อื่น ต้องหมั่นสอนงาน ชี้แนะ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมเพื่อเพิ่ม Productivity และแรงจูงใจในการทำงานด้วย

และแม้ทุกอย่างจะราบรื่น แต่ก็ควรหา Plan B รองรับ หรือหาทางปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ

5. The Administrator – หัวหน้าที่ควบคุมทุกอย่าง

หัวหน้าประเภทนี้มักวุ่นตลอดวันกับงานธุรการยิบย่อยทั้งของตัวเองและผู้อื่น จะไม่มอบหมายงานให้ใครทำ (เพราะกลัวทำผิดพลาด) โต๊ะล้นไปด้วยเอกสารกองโต

The Administrator บางคนยังใช้งานยิบย่อยกองเท่าภูเขามา “ปิดบัง” งานหลักที่สำคัญที่สุดของตัวเอง (ที่ยังทำไม่เสร็จ) เพื่อไม่ให้ใครรู้ สุดท้ายปัญหาก็จะปรากฏอยู่ดี

หลีกเลี่ยงการเป็น The Administrator ยังไง ?

เชื่อเถอะ งานเอกสารกองเท่าภูเขามีมาให้คุณทำไม่หยุดหรอก แต่คุณสามารถบาลานซ์มันได้ ลองมอบหมายให้คนที่ไว้ใจและมีความสามารถไปทำแทน และเอาตัวเองไป “โฟกัส” กับงานสำคัญภาพใหญ่ของบริษัทแทน

6. The Alarmist – หัวหน้า จอมวิตก

หัวหน้าประเภทนี้มักตื่นตระหนกตกใจอยู่ตลอดเวลากับเรื่องอะไรก็ตามที่เข้ามา (แม้บางทีไม่ได้ซีเรียสเลย) ทุกอย่างดูเหมือนเร่งด่วนไปหมด และลูกน้องทุกคนต้องทำอะไรบางอย่าง “เดี๋ยวนี้”

The Alarmist มักกระโดดเข้าหาข้อสรุปเร็วเกินไปและตั้งความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง (Unrealistic Expectation) แน่นอนว่าลูกน้องทุกคนที่รายล้อม “เครียด” ไปตามๆ กัน

หลีกเลี่ยงการเป็น The Alarmist ยังไง ?

การตื่นตระหนกบ้างเป็นเรื่องดี…แต่ก็ควรพอประมาณ ถ้ามากไปกลับส่งผลร้ายเพราะมันไม่ได้ช่วยสร้าง Creativity และ Productivity ที่ดีเลยในระยะยาว

The Alarmist ควรรู้ว่าเมื่อไรควรตื่นตกใจหรือ “เร่งด่วน” จริงๆ และเรื่องไหนที่ไม่สลักสำคัญนักก็ควรปล่อยผ่านเสียบ้าง

นอกจากนี้ การ “ตั้งเป้าหมาย” และเตรียมแผนสำรองไว้จะช่วยลดความวิตกกังวลจุดนี้ไปได้มากทั้งตัวหัวหน้าและลูกน้อง

และนี่ก็คือหัวหน้า 6 ประเภทที่ลูกน้องไม่ปรารถนา

แต่เราจะสังเกตได้ว่า หัวหน้าบางประเภทก็อาจเหมาะสมกับบาง “สถานการณ์”

บางครั้งต้องใจดี บางครั้งต้องออกคำสั่ง บางครั้งต้องปล่อยวาง บางครั้งวิตกกังวล 

สิ่งสำคัญคือการ “ทบทวน” ตัวเองและสถานการณ์รอบด้านอยู่บ่อยๆ และหาทางพัฒนาขึ้นทุกวัน ก็ทำให้เราเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้แน่นอน

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Disney
Disney ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่โลกจินตนาการที่มีอยู่จริง
Walt Disney มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 9.6 ล้านล้านบาทปี 2019 เคาะรายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาทมอบความบันเทิงและโลกจินตนาการแก่ผู้คนทั่วโลกทุกวันนี้เวลาเรานึกถึงดิสนีย์เรามักนึกถึง...
การตั้งชื่อ
Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ...
Burnout
สัญญาณ Burnout : ทำไมการ ‘พร้อมเพื่อทุกคน’ อาจทำร้ายคุณ?
ในยุคที่ทุกอย่างเป็น “Always on” หรือพร้อมทำงานตลอดเวลา อาการ Burnout กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มคนทำงานโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสำหรับคนที่มักจะ...