วันนี้ CareerVisa จะมานำเสนอโมเดลจัดการวิกฤติชีวิตด้วย Fink’s Crisis Management Model แนวคิดง่าย ๆ ปรับใช้กับการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้ มาลองดูกัน
Fink’s Crisis Management Model มี 4 Stage ด้วยกัน ดังนี้
❗Stage 1: ระยะก่อนวิกฤติเกิดขึ้น (Prodromal Stage)
ระยะนี้จะเป็นระยะแจ้งเตือน เป็นระยะที่เราสามารถเริ่มสังเกตเห็นการแจ้งเตือนว่ากำลังจะมีปัญหาหรือวิกฤติบางอย่างเกิดขึ้น จึงเป็นระยะที่ดีที่สุดในการวางแผนตั้งรับและหา Solution แก้ไขวิกฤติต่อไป
✅สิ่งที่ควรทำ
- ควรเตรียมความพร้อมและติดตามสัญญาณเตือนวิกฤติอย่างใกล้ชิด
- เตรียมแผนรับมือ
- ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
❗Stage 2: ระยะวิกฤติเกิดขึ้นเต็มรูปแบบ (Acute Stage)
เป็นระยะที่วิกฤติเกิดขึ้นเฉียบพลัน และส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งถ้าหากเราไม่เตรียมการให้พร้อมตั้งแต่ Stage แรก บอกเลยว่า Stage นี้ก็จะผ่านไปได้อย่างยากลำบากแน่นอน
✅สิ่งที่ควรทำ
- ตอบสนองและหาวิธีการแก้ไขวิกฤติอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
- สื่อสารข้อมูลให้กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา
- ควบคุมสถานการณ์ให้ได้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากเกินไป
❗Stage 3: ระยะวิกฤติเริ่มคลี่คลาย (Chronic Stage)
เป็นระยะที่วิกฤติเบาลงแต่ว่ายังเรื้อรังและยังส่งผลกระทบอยู่บ้าง ช่วงนี้เป็นช่วงที่อาจจะไม่ยากลำบากเท่าระยะก่อนหน้านี้ แต่ว่าก็ยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้วิกฤติกลับมาร้ายแรงเหมือนเดิมอยู่ดี
✅สิ่งที่ควรทำ
- ทำการสื่อสารแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
- สร้างความไว้วางใจให้กับคนรอบข้าง
- อย่าพึ่งการ์ดตก ให้ทำตามแผนการแก้ไขปัญหาจนมั่นใจว่าปัญหาสิ้นสุดดี
❗Stage 4: ระยะวิกฤติสิ้นสุด (Resolution Stage)
เป็นระยะที่วิกฤติสิ้นสุดลง เป็นช่วงที่เราได้พักและได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์รวมถึงสรุปปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อเก็บไว้เป็นแนวทางในกรณีที่มีวิกฤติใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกในอนาคต
✅สิ่งที่ควรทำ
- เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น สรุปเป็นแนวทางแก้ไขในอนาคต
- พัฒนาแนวทางแก้ไข เพื่อที่จะได้พร้อมรับทุกปัญหาที่เกิดขึ้น
อ้างอิง: https://www.smartsheet.com/content/crisis-management-model-theories