เป็นหัวหน้าแบบนี้ ลูกน้องไม่มีวันอยากลาออก 8 นิสัยของหัวหน้า ที่ลูกน้องอยากทำงานด้วยไปนาน ๆ

8 habits of leader

กว่าจะได้มาเป็นหัวหน้าใครก็ยากแล้ว แต่จะเป็นหัวหน้าให้ดี เป็นหัวหน้าที่มีประสิทธิภาพและมีแต่คนรักนั้นยากกว่า

การปั้นทักษะของการเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนและต้องเปิดใจ ไม่ใช่ว่าใครก็จะทำได้ ทักษะที่จำเป็นของหัวหน้าจะช่วยให้เราดูเป็นมืออาชีพและจัดการกับความรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น สำคัญที่สุดคือมีหลายทักษะที่โฟกัสไปในด้านของการบริหารคนและทีม เพราะฉะนั้นหัวหน้าไม่ใช่แค่ว่าเก่งการทำงานแล้วจะเพียงพอ

หากแต่ว่ามาลองดูกันว่ามีทักษะหลัก ๆ อะไร หรือนิสัยอะไรที่หัวหน้าที่ดีควรจะมีเพื่อทำให้ลูกน้องอยากทำงานด้วยนาน ๆ

[8 นิสัยของหัวหน้า ที่ลูกน้องอยากทำงานด้วยไปนาน ๆ ]

  • ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น

หัวหน้าบางคนอาจจะมองว่าเป็นหัวหน้าไม่ต้องเป็นที่รักก็ได้ อันนี้เป็นเรื่องที่ผิด หากแต่ว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับทีมตัวเองและคนที่เกี่ยวข้องคนอื่นๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ในการที่จะทำให้หัวหน้าและลูกทีมทำงานออกมาได้ง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดังนั้น ถึงแม้ว่าหัวหน้าอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็น “คนที่ทุกคนรัก” ในที่ทำงาน แต่หัวหน้าที่ดีจำเป็นต้องมีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี หากต้องการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ

  • ความสามารถในการปรับตัวและคล่องตัว

หัวหน้ายุคใหม่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน รวมถึงด้วยตลาดแรงงานที่ใหญ่ขึ้น การแข่งขันยิ่งสูงขึ้นและเปลี่ยนแปลงไวมากขึ้นอีกเช่นกัน หัวหน้าที่มีประสิทธิภาพต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร แม้ว่าอาจจะต้องก้าวออกจาก “พื้นที่ปลอดภัย” ของตนเองก็ตาม

  • มีความเข้าใจนวัตกรรมและมีความคิดสร้างสรรค์

นวัตกรรมคือหัวใจสำคัญของความเป็นหัวหน้าในทุกองค์กร จุดเริ่มต้นของความสำเร็จด้านนวัตกรรมมักมาจากไอเดียที่แตกต่างและการหาคุณค่าให้กับสิ่งต่าง ๆ ได้

ยกตัวอย่าง Apple ความสำเร็จของพวกเขาเกิดจากการพัฒนานวัตกรรมโดยคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลัก ภายใต้การนำของ Steve Jobs และ Tim Cook ที่กล้าคิด กล้าทำ และไม่หยุดพัฒนา ทำให้ Apple กลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ในยุคที่ความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร หัวหน้าต้องพัฒนาทักษะด้านนี้อยู่เสมอ เพื่อสร้างความได้เปรียบและก้าวนำผู้อื่น

  • มีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจ

การสร้างแรงจูงใจให้ทีมเป็นทักษะสำคัญไม่แพ้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี หัวหน้าที่ดีต้องรู้วิธีกระตุ้นทีมอย่างต่อเนื่อง โดยใส่ใจและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว ผลสำรวจจาก Interact กับพนักงาน 10,000 คนในสหรัฐฯ พบว่า 63% ไม่พอใจที่หัวหน้าไม่แสดงความชื่นชม ขณะที่การได้รับคำชมช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมในการทำงานได้มากถึง 60% พนักงานที่มีแรงจูงใจจะมั่นใจในตัวเอง มีส่วนร่วมมากขึ้น และพร้อมสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

  • กล้าที่จะตัดสินใจ

หัวหน้าต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา และการตัดสินใจที่ดีคือหัวใจของความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเมื่อเป็นการตัดสินใจที่ส่งผลต่อองค์กรส่วนรวม หัวหน้าที่ดีต้องมีเหตุผล ชัดเจน และมั่นใจในสิ่งที่ตัดสินใจ แม้บางครั้งจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกใจใคร แต่จำเป็นต่อความก้าวหน้าของทีม

ขณะเดียวกัน หัวหน้าก็ต้องรู้จักปรับตัวเมื่อผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ การรู้ว่าเมื่อใดควรยืนหยัด และเมื่อใดควรปรับเปลี่ยน คือทักษะสำคัญของหัวหน้ายุคใหม่

  • ความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง

จากข้อมูลของ American Management Association ผู้จัดการใช้เวลาถึง 24% ไปกับการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในทีม ลูกค้า Supplier หรือแม้แต่คู่แข่ง ความขัดแย้งแม้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ใครอยากให้เกิดขึ้น แต่หากจัดการอย่างถูกวิธี อาจนำไปสู่ความเข้าใจที่ดีขึ้นหรือแนวคิดใหม่ ๆ ได้

หัวหน้าที่ดีต้องมองเห็นปัญหาแต่เนิ่น ๆ รู้วิธีรับมืออย่างมีเหตุผล และไม่หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ขณะเดียวกัน การพัฒนาทักษะนี้ให้ทีมของตัวเอง ก็ช่วยป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งบานปลายได้

  • ความสามารถในการเจรจาต่อรอง

การเจรจาคือกระบวนการที่สองฝ่ายที่มีมุมมองต่างกัน หาทางออกที่ทั้งคู่ยอมรับได้ หัวหน้าที่มีทักษะการเจรจาที่ดี จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแรง ทั้งในทีมและกับบุคคลภายนอก พร้อมทั้งหาทางออกที่ดีที่สุดในระยะยาว

ทักษะนี้ยังช่วยให้หัวหน้าเข้าใจความต้องการของคนในทีม และหาทางตอบสนองเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายองค์กรให้สำเร็จได้ง่ายขึ้น

  • ความสามารถในการมองภาพรวมและเชื่อมโยงไอเดีย

การเป็นผู้นำองค์กรต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ซับซ้อนและกดดัน ซึ่งทักษะสำคัญที่สุดคือ “การคิดเชิงเหตุและผล” ตามรายงานของ Brandon Hall Group

การคิดเชิงเหตุและผลคือความสามารถในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มองเห็นความเชื่อมโยงของไอเดียต่าง ๆ และตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เป็นทักษะที่ฝึกฝนได้ โดยอาศัยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและมีลำดับขั้นตอน

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Competing Values Framework
Competing Values Framework: เครื่องมือที่ HR ต้องมี เพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรสู่ความสำเร็จ
สำหรับ HR ที่ต้องดูแลเรื่องวัฒนธรรมองค์กร CareerVisa อยากแนะนำให้รู้จัก CVF CVF คือกรอบแนวคิดที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจ “คุณค่าที่ขัดแย้งกัน” ซึ่งต้องบริหารให้สมดุลเพื่อให้ทีมเติบโต...
8 habits of leader
เป็นหัวหน้าแบบนี้ ลูกน้องไม่มีวันอยากลาออก 8 นิสัยของหัวหน้า ที่ลูกน้องอยากทำงานด้วยไปนาน ๆ
กว่าจะได้มาเป็นหัวหน้าใครก็ยากแล้ว แต่จะเป็นหัวหน้าให้ดี เป็นหัวหน้าที่มีประสิทธิภาพและมีแต่คนรักนั้นยากกว่า การปั้นทักษะของการเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนและต้องเปิดใจ...
artwork paper1
การเข้ามาของเทคโนโลยี AI และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตลาดแรงงานในประเทศไทย
การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดแรงงานในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว จากงานวิจัยของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมกับ...