สัมภาษณ์งานตั้งหลายคน จะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือ “คนที่ใช่”

โลกของการทำงานกำลังหมุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทักษะที่เคยเพียงพอในอดีตอาจไม่เพียงพออีกต่อไปในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ บริษัทจึงต้องการบุคลากรหรือพนักงานที่มีมากกว่าแค่ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง แต่ยังต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

10 สัญญาณสัมภาษณ์งาน บ่งบอกว่าผู้สมัครคนนี้คือ “คนที่ใช่”

โลกของการทำงานกำลังหมุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทักษะที่เคยเพียงพอในอดีตอาจไม่เพียงพออีกต่อไปในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ บริษัทจึงต้องการบุคลากรหรือพนักงานที่มีมากกว่าแค่ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง แต่ยังต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

นอกจากทักษะเฉพาะทางที่ตรงกับตำแหน่งงานแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่บ่งบอกว่าผู้สมัครคนหนึ่งมีความเหมาะสมกับบริษัทหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ ความคิดสร้างสรรค์ หรือความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของทั้งตัวบุคคลและบริษัท 

วันนี้ CareerVisa จะมานำเสนอสัญญาณที่บ่งบอกว่า HR ควรจะรับผู้สมัครคนนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม หรือไม่ มาลองดูกัน

เข้าใจบริษัทและตำแหน่งงานเป็นอย่างดี

หากผู้สมัครงานสามารถตอบคำถามงานได้อย่างฉะฉาน มีความมั่นใจและเข้าใจในตัวบริษัทกับตำแหน่งงานเป็นอย่างดี อาจจะสามารถแสดงได้ว่าผู้สมัครนี้มีความสนใจในตัวงาน และเตรียมตัวในการสัมภาษณ์มาอย่างเพียบพร้อม และถ้าหากผู้สมัครถามคำถามกลับได้อย่างชาญฉลาดก็จะแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นและอยากเติบโตในบริษัท

มีทักษะการสื่อสารที่ดี

สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน ตอบคำถามได้อย่างฉะฉานและตรงประเด็น นอกจากสื่อสารออกมาได้ดีแล้ว ยังต้องเป็นผู้ฟังที่ดี มีสมาธิในการฟังผู้สัมภาษณ์และเก็บใจความของคำถามได้เป็นอย่างดี

มีทัศนคติเชิงบวกและกระตือรือร้น

สามารถแสดงความมั่นใจออกมาได้จากการตอบคำถาม การวางตัว การแสดงออกทางกายและใบหน้า นอกจากนี้แล้วการแสดงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็สามารถสร้างความปะรทับใจได้อย่างมากเลยทีเดียว

มีความคิดสร้างสรรค์สามารถริเริ่มอะไรด้วยตัวเองได้

สามารถนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ได้อย่างมั่นใจ มีความสร้างสรรค์และมีความไม่เหมือนใคร ซึ่งการเสนอเหล่านั้นต้องสามารถช่วยเหลือบริษัทได้ ตรงประเด็นหรือตรงกับหัวข้อของคำถาม นอกจากนั้นผู้สมัครควรแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นในการเติบโตและรับฟังข้อแนะนำ

มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ไม่ปิดกั้นตัวเองกับการทำงานร่วมกับคนอื่นเป็นทีม หรือการทำงานร่วมกับทีมอื่น ๆ อีกทั้งผู้สมัครที่ดียังต้องแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการทำงาน มีทัศนคติที่ดีกับการทำงานร่วมกับทีม

มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ดี

สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ มีความคิดที่จะพัฒนาตัวเองให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งต้องสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ไม่จมอยู่กับมันและคิดลบกับมันมากจนเกินไป

มีความสนใจในบริษัทและวัฒนธรรมองค์กร

แสดงความเข้าใจและความสนใจในค่านิยมองค์กร แสดงความกระตือรือร้นที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และมีความกระตือรือร้นในการอยากเข้าร่วมทีมกับทางบริษัท

มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง

หากมีประสบการณ์ตรงที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร ผู้สมัครคนนี้ก็จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ หรือถ้าไม่ได้ทำงานตามสายงานนี้มา หากมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องและสามารถอธิบายทักษะที่นำมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี ก็เป็นสิ่งที่บริษัทต้องการเช่นกัน

แสดงความสนใจในผลงานของบริษัท

ศึกษาและหาข้อมูลว่าบริษัททำอะไรมาบ้าง และสามารถอธิบายรายละเอียดออกมาได้ ถือว่าเป็นการแสดงออกว่าผู้สมัครมีความสนใจในบริษัท อีกทั้งผู้สมัครที่ดีควรให้ความคิดเห็นในผลงานบริษัทได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นความคิดเห็นที่ดีต่อการที่บริษัทจะนำไปพัฒนาผลงานต่อไป

แสดงความมั่นใจในตัวเอง

สำคัญที่สุดคือความมั่นใจของผู้สมัคร การตอบอย่างฉะฉาน การมีบุคลิกที่มั่นใจ ดูมั่นคง จะแสดงให้เห็นว่าผู้สมัครเตรียมตัวมาสัมภาษณ์งานเป็นอย่างดี มีความสนใจและกระตือรือร้นในการเข้าร่วมทำงานกับทางบริษัท

อย่างไรก็ตามการสัมภาษณ์งานอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดที่บริษัทนำมาตัดสินว่าผู้สมัครคนนี้ดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน เพราะฉะนั้นอย่าลืมที่จะลองหาบททดสอบ เช่น การทำ Test วัดทักษะเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เป็นต้น หรือบทสอบอื่น ๆ ที่จะทำให้ได้รู้จักผู้สมัครมากยิ่งขึ้น การมีอะไรเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์เหล่านี้ ก็อาจจะทำให้บริษัทตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น 

 

รวมไปจนถึงการอ้างอิงจากคนที่เคยทำงานร่วมกับผู้สมัครคนนั้น ๆ ก็จะทำให้บริษัทรู้จักผู้สมัครได้มากขึ้น อีกทั้งยังได้รับฟีดแบ็กจากคนที่เคยทำงานร่วมกับผู้สมัครมาโดยตรงอีกด้วย

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...