จากแบรนด์ที่สำเร็จโด่งดังระดับนึงในยุค Baby boomer แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ถึงยุคขาลง จนเหล่า Gen Y หรือ Gen Z หลายคนไม่เคยได้ยินแม้แต่ชื่อแบรนด์!
แต่แล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กรขนาดใหญ่ชนิดที่ทุกวันนี้ นอกจาก Baby boomer แล้ว Gen Y หรือ Gen Z (และเจนอื่นๆ) น้อยคนที่จะไม่เคยได้ยินชื่อแบรนด์ GQ นี้
เบื้องหลังความสำเร็จนี้ คือการเปลี่ยนโฉมการทำงานภายในองค์กรชนิดจากหน้ามือเป็นหลังมือ!
ได้เวลารุ่นลูกโชว์ฝีมือ
การเปลี่ยนแปลงจากภายนอกต้องมาจากการทำงานภายในองค์กรก่อน
จากธุรกิจครอบครัวเก่าแก่ GQ ยุคใหม่แบบที่เราเห็นกันจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากโครงสร้างบริหารภายในที่ส่งต่อให้รุ่นลูกเจนใหม่ขึ้นมาบริหารได้แบบเต็มที่
โดยสิ่งใหม่ๆ ในรอบไม่กี่ปีที่เราเห็นจาก GQ แทบจะมาจากมันสมองของ “คนรุ่นใหม่” ที่ได้รับโอกาสขึ้นมาบริหารได้แบบเต็มที่มากขึ้น
“คุณวีรธีป ธนาภิสิทธิกุล” คือทายาท (และ Talent) ที่บริหารต่อจากรุ่นพ่อ เขาผสมผสานวัฒนธรรมการทำงานแบบฝรั่งที่เคยสัมผัสสมัยทำงานที่ New York ในวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อย่าง Goldman Sachs ก่อนผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยๆ เช่น
- ให้ฟีดแบคแบบตรงไปตรงมา แต่ก็มีความซอฟต์ไม่โผงผาง
- ลด Hiereachy ระดับขั้นการทำงาน แต่ก็ยังเคารพผู้ใหญ่อาวุโสที่อยู่มานาน
- นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานประจำวัน แต่ก็ไม่มองข้ามประสบการณ์พนักงานรุ่นใหญ่ที่มีอยู่เดิม
- หรือการเปิดรับคนทำงานรุ่นใหม่มาร่วมทีมกับรุ่นใหญ่ในออฟฟิศที่ทำมานาน
ระบบ Training มืออาชีพ
หลายคนที่เคยซื้อเสื้อผ้าของ GQ อาจตกใจว่าทำไมพนักงานขายหน้าร้านถึงดูโปรขนาดนี้!
ที่เป็นเช่นนี้เพราะ GQ ทรีตท์พนักงานขายหน้าร้านให้อยู่ในสถานะ Product Consultant (PC) ที่ต้องสามารถแนะนำสินค้าและตอบคำถามลูกค้าได้คล่องปรื๋อ เพราะนี่คือ Physical touchpoint จุดที่ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่น่าจะสำคัญที่สุดแล้ว
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งงานเป็นทุนเดิม GQ จึงออกแบบ “ระบบ Training มืออาชีพ” ขึ้นมา พนักงานขายทุกคนต้องผ่านด่านการ Training อันเข้มข้นขององค์กรก่อนถึงจะไปประจำตำแหน่งหน้าร้านและเจอลูกค้าซึ่งๆ หน้าโดยตรง
- จากมือสมัครเล่น เมื่อเทรนจบออกไป…ต้องกลายเป็นมืออาชีพ!
อธิบายแบบง่ายๆ Training ถูกออกแบบให้ครอบคลุมทั้งเรื่อง ”Functional & Emotional”
กล่าวคือ พนักงานขายของต้องรู้ลึกเรื่องสินค้าด้าน Functional เช่น โปรดักท์ไลน์แต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อลูกค้าเป้าหมายคนละกลุ่ม ความหลากหลายของเนื้อผ้าที่มีตั้งแต่ผ้าฝ้าย ผ้าคอตตอน ผ้าลินิน และต้องอัพสกิล Craftsmanship ระดับหนึ่ง เช่น เรียนรู้การตัดและสอยขากางเกงด้วยมือจนกว่าจะโปร
แต่ขณะเดียวกัน ต้องไม่ทิ้งเรื่อง Emotional เพราะเราขายสินค้าให้คนที่มีอารมณ์จิตใจ พนักงานขายจึงจะได้รับการปูพื้นฐานด้าน Branding ความเป็นมาของแบรนด์ วิธีสังเกตสิ่งที่ลูกค้าต้องการแต่ไม่ได้พูดออกมา หรือวิธีเทคแคร์ในแต่ละวัยที่มีคาแรคเตอร์แตกต่างกัน จนไปถึงติดตามคอนเทนต์ไวรัลหรือโฆษณาล่าสุดต่างๆ ของแบรนด์
เปิดใจคนได้เพราะแบรนด์เปิดกว้าง
นอกจากนี้ GQ ยังใส่ใจเรื่อง Inclusion & Diversity การมีส่วนร่วมและความหลากหลายทั้งทางเพศ เชื้อชาติ ถิ่นกำเนิด หรือรูปลักษณ์ร่างกาย
อย่างเช่น ตำแหน่ง PC ที่ส่วนใหญ่จะมีภาพจำเป็นผู้หญิงเท่านั้น แต่แบรนด์ก็เปิดรับทุกเพศสภาพ ผู้ชายก็ได้หรือเพศทางเลือกไหนๆ ก็มาทำได้ทั้งนั้น เพราะวัดที่ความสามารถ
ผู้พิการหรือคนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย GQ ก็พร้อมรับเช่นกันถ้าคุณสมบัติผ่าน โดยได้ดีไซน์การทำงานแบบโหมด Accessibility ไว้ในระดับหนึ่งเพื่อรองรับพนักงานกลุ่มนี้เลยทีเดียว นัยหนึ่ง เพราะแบรนด์ต้องการส่งเสริมคุณค่าของคนกลุ่มนี้ให้สังคมรับรู้เช่นกัน
สวัสดิการสไตล์ GQ
นอกจาก GQ จะให้ค่าตอบแทนเงินเดือนตามมาตรฐานชนิดไม่น้อยหน้าใครแล้ว ยังมีสวัสดิการอื่นที่น่าสนใจไม่น้อย
อย่างเช่น ส่วนลดพิเศษสำหรับพนักงาน ลดสูงถึง 60% เมื่อซื้อสินค้าของ GQ ถือเป็นส่วนลดที่สูงกว่าแบรนด์คู่แข่งอื่นๆ บางเจ้าด้วยซ้ำ
ไหนจะวันลาคลอดเพื่อดูแลลูกน้อยโดยยังจ่ายเงิน สอดคล้องกับแนวคิดของสังคมยุคใหม่ที่แคร์ประเด็นนี้ และถ้าใครต้องการลาบวช หรือลาเพื่อไปดูแลบุตร GQ ก็พร้อมเปย์เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการจัดงานเลี้ยงรื่นเริงประจำปีเพื่อกระชับมิตรระหว่างทีม
นอกจากสวัสดิการแล้ว ไวรัลโฆษณาและเสียงฟีดแบคเชิงบวกล้นหลามในโลกโซเชียล ยังถูกใช้เป็น asset ในการ attract ดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ๆ ให้มาร่วมทีม
สู่บริษัทที่เก่าแต่ไม่แก่
รุ่นลูก Gen ใหม่ยังไม่ยึดติดกับธุรกิจครอบครัวเดิมๆ เพราะอาจติดกับดักอำนาจตัดสินใจและความเกรงอกเกรงใจที่ฝังรากลึกในหมู่พนักงานหลายภาคส่วน โดยได้เปิดรับผู้บริหารมืออาชีพจากข้างนอกมาพัฒนาองค์กร อย่างที่เราอาจเห็นในสื่ออยู่บ่อยๆ คุณ George Hartel ผู้บริหารชาวต่างชาติที่ดำรงตำแหน่ง Chief Commercial Officer (CCO)
ทุกวันนี้ GQ ไม่ใช่บริษัทโบราณอีกต่อไปแล้ว และไม่ได้บริหารแบบธุรกิจครอบครัวดั้งเดิมที่เถ้าแก่ผู้หลักผู้ใหญ่มีอำนาจสั่งการเด็ดขาด แต่มีความเป็นมืออาชีพและเป็นสากลขึ้นมากชนิด transform เป็นคนละบริษัทกันเลยทีเดียว
อ้างอิง